2017 — Tudsinjai.com : Blog area : แหล่งรู้คู่การตัดสินใจ


Nui Panna July 24, 2017

"นับเป็นครั้งแรกที่สมาชิกของ BNK48 มีขึ้นปกนิตยสาร และนิตยสารเล่มแรกในประเทศที่ได้สมาชิกทั้ง 6 ขึ้นไปขึ้นปกก็คือ a day BULLETIN ฉบับ 496 สมาขิกทั้ง 6 คนที่ขึ้นปกนั้นได้แก่ เฌอปราง, เจนนิษฐ์, ปัญ, มิโอริ, เนย และมิวสิค
นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ภายในเล่มมีการสัมภาษณ์สมาชิก BNK48 ที่ติดเซ็มบัตสึทั้ง 16 คนด้วย แม้บทสัมภาษณ์อาจจะไม่ได้เยอะและยาวอย่างจุใจ แค่ก็ทำให้เราได้เห็นตัวจริงของ BNK48 ทั้งหมดในคราวเดียวแบบจริงๆ จังๆ จากสื่อสิ่งพิมพ์ ปัจจุบัน A day BULLENTIN ฉบับนี้จัดได้ว่าเป็นของแรร์ที่หายากมาก"

ข้อมูลจาก : mango zero

BNK48 บนปก day BULLETIN
BNK48 บนปก a day BULLETIN
BNK48 บนปก day BULLETIN
BNK48 บนปก a day BULLETIN


ภาพจาก : a day BULLETIN


Nui Panna July 9, 2017

รายการวาไรตี้ BNK48 Show เป็นเกมโชว์ ไลฟ์โชว์ มีซิทคอมบ้างสลับกันไป มีสมาชิกของ BNK48 เป็นผู้ร่วมดำเนินรายการ มีการแสดงความสามารถของสมาชิก ช่วงออกอากาศเทปแรกรายการยังไม่เข้าทีเข้าทางยังดูเหนื่อยๆ

BNK48 Show ฉายเทปแรกทางช่อง 3SD
BNK48 Show ฉายเทปแรกทางช่อง 3SD
  • รายการออกอากาศทางช่อง 3SD (ช่อง 28) ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม - 26 พฤศจิกายน 2560


เทปแรกที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม2560


เทปสุดท้ายที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2560


วัดท่าซุง วัดหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

วัดจันทาราม (ตั้งตามชื่ออดีตเจ้าอาวาสเดิมที่ชื่อ จัน) เดิมชื่อ "วัดท่าซุง" ตั้งอยู่ที่บ้านท่าซุง หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำซึม อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสะแกกรัง พื้นที่ทั้งหมด 290 ไร่ (เดิมมี 7 ไร่เศษ) มีถนนผ่านกลางวัด พื้นที่วัดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

พื้นที่ส่วนแรกเป็นวัดท่าซุงเก่ามี พื้นที่ 7 ไร่เศษ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาอยู่ริมน้ำ สะแกกรัง ปัจจุบันได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานใหม่ และยังคงเหลือพระอุโบสถและ พระวิหารเท่านั้นพื้นที่ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่ขยายต่อจากวัดท่าซุงเดิม อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของ ถนนสายอุทัย - มโนรมย์เป็นปูชนียสถานซึ่งสร้างโดยพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

แผนที่การเดินทางไปวัดท่าซุง
แผนที่การเดินทางไปวัดท่าซุง

ผมเริ่มออกเดินทางจากบ้านตอน 05.13 วิ่งไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ไปออกที่บางปะอิน อยุธยา วิ่งไปตามถนนหมายเลข 32 / AH2 เส้นทางหลักที่ขึ้นภาคเหนือ เลี้ยวซ้ายเข้าจังหวัดอุทัยธานีตามถนนหมายเลข 333 (ถนนเส้นนี้วิ่งทะลุไปถึงด่านช้าง สุพรรณบุรี) ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สะพานข้ามแม่น้ำสะแกกรัง สะพานข้ามคลองระแวง ระหว่างทางจะมีป้ายบอกทางไปวัดท่าซุงตลอด โดยมี 2 เส้นทางให้เลือก

1. (เส้นทางสีส้ม) เส้นทางที่ผมไปใช้เส้น 5002 สังเกตป้ายให้เลี้ยวซ้ายไปบ้านเกาะเทโพ (ตรงไปจะไปเข้าเมืองอุทัยธานี หรือทัพทัน) ชะลอความเร็วจนถึงทางสามแยก เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนหมายเลข 5002 วิ่งจนบรรจบ 4 แยกปากกะบาดแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางหมายเลข 3265 วิ่งไปจนถึงวัดท่าซุง

2. (เส้นทางสีม่วง) หรืออยากไปเที่ยวเขาสะแกกรังหรือวัดสังกัสรัตนคีรีก่อนก็ตรงไป พอเที่ยวเสร็จก็วิ่งมาผ่าน 4 แยกวัดสังกัส ถ้ากลับมาจากวัดสังกัสให้เลี้ยวขวา แต่ถ้ามาจากเส้นที่ผ่านโรงพยาบาลอุทัยธานีก็ตรงไป เข้าสู่ถนนเส้น 333 วิ่งจากแยกนี้อีกประมาณ 12 กิโล ให้เลี้ยวซ้ายไปทาง อ.มโนรมย์ เข้าเส้นทางหมายเลข 3265 (ถนนบริรักษ์) วิ่งตรงไปก็จะไปบรรจบกับเส้นทางที่วิ่งมาจากเส้น 5002 เป็น 4 แยกปากกะบาด จากนั้นตรงไปเข้าเส้นทางหมายเลข 3265 วิ่งไปจนถึงวัดท่าซุง

เมื่อมาถึงให้เข้าตามป้ายที่บอกทางเข้าวิหารแก้ว 100 เมตร เข้ามาแล้วจะมีลานจอดรถอยู่ด้านซ้ายมือ ด้านหน้าก่อนเข้าวิหารแก้วจะมีพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 ปั้นด้วยปูนปิดทองคำเปลวทั้งองค์ และพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

พระบรมรูปรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 ปั้นด้วยปูนปิดทองคำเปลวทั้งองค์ และพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9


วิหารแก้ว 100 เมตร

วิหารแก้ว 100 เมตร ภายในประดับด้วยโมเสกสีขาวและกระจก มีพระพุทธชินราชเป็นพระประธาน ด้านบนเพดานของวิหารประดับด้วยช่อไฟระย้าทั้งขนาดเล็กและใหญ่รวมกว่า 119 ช่อ วิหารแก้ว 100 เมตรจะมีช่วงเวลาเปิด-ปิด ช่วงเช้า 09.00-11.45น. ช่วงบ่าย 14.00-16.00น.

วิหารแก้ว 100 เมตรจะมีช่วงเวลาเปิด-ปิด ช่วงเช้า 09.00-11.45น. ช่วงบ่าย 14.00-16.00น.

วิหารแก้ว 100 เมตร

วิหารแก้ว 100 เมตร

วิหารแก้ว 100 เมตร

วิหารแก้ว 100 เมตร

พระพุทธชินราช วิหารแก้ว 100 เมตร

บริเวณด้านนอกก่อนเข้าถึงภายในวิหารแก้ว 100 เมตร


มณฑปพระปัจเจกพุทธเจ้า

มณฑปพระปัจเจกพุทธเจ้า วัดท่าซุง

สวนสมเด็จฯ

สวนสมเด็จฯ วัดท่าซุง

สวนสมเด็จฯ วัดท่าซุง


พระวิหารสมเด็จองค์ปฐม

พระวิหารสมเด็จองค์ปฐม วัดท่าซุง

พระวิหารสมเด็จองค์ปฐม เวลาเปิด 09.00 - 10.30 น. และ 13.00 - 16.00 น. (วันเสาร์ วัดอาทิตย์และวันหยุดราชการ เปิดตลอดเวลา 09.00 - 16.00 น.)
มณฑปพระศรีอาริยเมตไตรย์ เวลาเปิด 09.00 - 10.30 น. และ 13.00 - 16.00 น. (วันเสาร์ วันอาทิตย์และวันหยุดราชการ เปิดตลอดเวลา 09.00 - 16.00 น.)

ตอนที่เดินมาถึงพระวิหารสมเด็จองค์ปฐมก็เกินเวลาแล้ว จึงได้ถ่ายเฉพาะด้านนอก ส่วนมณฑปพระศรีอาริยเมตไตรย์ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกันก็ไม่ได้เข้าไปและไม่ได้เก็บภาพมาครับ (ไม่ได้หาข้อมูลมาว่าด้านในมีอะไรบ้าง)


พระยืน 30 ศอก, เจดีย์พุดตาล

พระยืน 30 ศอก, เจดีย์พุดตาล เปิดตลอดเวลา 08.00 - 16.00 น.

พระยืน 30 ศอก วัดท่าซุง

เจดีย์พุดตาล วัดท่าซุง

พระยืน 30 ศอก วัดท่าซุง

ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

ช่วงที่ไปวัดท่าซุง (06.07.2560) ปราสาททองคำกำลังบูรณซ่อมแซมอยู่จึงไม่ได้ภาพด้านในของปราสาท (ต้องกลับไปถ่ายอีกครั้งในอนาคต) เวลาเปิด-ปิดของปราสาท คือเวลา 08.00 - 16.00 น.

ปราสาททองคำก่อสร้างด้วยการก่ออิฐฉาบปูน ประดับลวดลายไทยปิดทองคำเปลวติดกระจก มีทั้งหมด 3 ชั้น บนยอดปราสาทมีซุ้มพระยืน 8 ศอก ประดิษฐานอยู่ มียอดทั้งหมด 37 ยอดเป็นยอดเท่าๆ กัน 36 ยอด ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และยอดตรงกลางเป็นยอดใหญ่ 1 ยอด ใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ญาติโยมถวาย รอบนอกปราสาทใช้ทองคำเปลวปิดรอบปราสาท

พิพิธภัณฑ์ สมบัติพ่อให้ วัดท่าซุง

ปราสาททองคำ วัดท่าซุง

ปราสาททองคำ วัดท่าซุง

ปราสาททองคำ วัดท่าซุง


"ไอ้อ้วน" March คู่ใจ ไปไหนไปด้วยกันเสมอ
"ไอ้อ้วน" March คู่ใจ ไปไหนไปด้วยกันเสมอ - March Club No.418


แหล่งข้อมูลประกอบ : พันทิป.คอม, วิกิพีเดีย



ตามไปดูต้นไม้ยักษ์ที่บ้านไร่ บ้านสะนำ

ได้รับคำเชิญชวนจากเพื่อนที่บ้านไร่ให้มาดูต้นไม้ยักษ์ที่นั้น ใช้ google พิมพ์ค้นหา "ต้นไม้ยักษ์" ก็เจอแต่ต้นไม้ยักษ์ของ บ้านสะนำ หมู่ 2 ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ว่าดังนั้นจึงไปดูให้เห็นดีกว่า

แผนที่ บ้านไร่ อุทัยธานี

การเดินทางไปดูต้นไม้ยักษ์ จุดหมายคือบ้านไร่ อุทัยธานี ผมขอตัดตอนมาที่บ้านไร่เลยนะครับ (การเดินทางมาบ้านไร่ google บอกทางได้) เมื่อถึงบ้านไร่โดยใช้เส้นทาง 3011 ผ่าน สถานีตำรวจภูธรอำภอบ้านไร่ (ขวามือ) โรงพยาบาลบ้านไร่ (ขวามือ) สำนักงานขนส่งจังหวัดอุทัยธานี สาขาอำเภอบ้านไร่ (ซ้ายมือ) วัดสะนำ (ซ้ายมือ) สะพานข้ามคลองกระเวนมาอีกนิดเดียว ให้มองทางซ้ายไว้จะมี 3 แยกเล็กๆให้เลี้ยวซ้าย หน้าทางแยกจะมีป้ายบอกทาง "ต้นไม้ยักษ์" เข้าไปอีกประมาณ 1 กิโล สังเกตุป้ายบอกทางจะมีตลอด

ต้นไม้ยักษ์ที่บ้านสะนำ ตำบลบ้านไร่ เป็นต้นเซียงหรือต้นผึ้ง มีอายุประมาณๆ 400 ปี ขนาดเส้นรอบวงประมาณ 40 โอบ หรือ 90 กว่าเมตร พื้นที่ล้อมรอบจะเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยต้นหมากสูงๆ เส้นทางเข้าไปก่อนถึงต้นไม้ยักษ์จะมีลานจอดรถ หรือจะขับเข้าไปก็ได้แต่เส้นทางในหน้าฝนอาจมีโคลน รถเล็กแนะนำให้จอดตรงลานจอดแล้วเดินเข้าไปดีกว่า ระยะทางที่เดินเข้าไปประมาณ 200 เมตร พื้นที่ที่ต้นไม้ยักษ์อยู่เป็นพื้นที่ของลุงเฮียง ซึ่งทุกวันตอนเช้าๆ ลุงเฮียงจะมากวาดใบไม้และลานรอบๆ ทำให้รอบบริเวณต้นไม้ยักษ์สะอาดสะอ้านทุกวัน ไม่รก มีม้านั่งให้นั่งพักผ่อน มีตู้รับบริจาค มีศาลเจ้าแม่วิไรวรรณ

ป้ายบอกทางเข้าติดถนนเส้น 3011

ป้ายทางเข้า ต้นไม้ยักษ์ ใกล้จะถึงแล้ว
ป้ายทางเข้า ต้นไม้ยักษ์ ใกล้ถึงแล้ว

ลานจอดรถ ต้นไม้ยักษ์
ลานจอดรถ ต้นไม้ยักษ์

ทางเข้าก็จะเละๆหน่อย ในหย้าฝน ทางที่ดีจอดรถด้านนอกแล้วเดินเข้ามาดีกว่า
ทางเข้าก็จะเละๆหน่อย


ต้นไม้ยักษ์ ยักษ์ขนาดไหน ดูเอา


ต้นไม้ยักษ์ บ้านสะนำ บ้านไร่ อุทัยธานี

ต้นไม้ยักษ์ บ้านสะนำ บ้านไร่ อุทัยธานี

ต้นไม้ยักษ์ บ้านสะนำ บ้านไร่ อุทัยธานี

ต้นไม้ยักษ์ บ้านสะนำ บ้านไร่ อุทัยธานี

ต้นไม้ยักษ์ บ้านสะนำ บ้านไร่ อุทัยธานี


ต้นไม้บริเวณรอบๆ ก็สูงใหญ่เช่นเดียวกับต้นไม้ยักษ์

ต้นไม้บริเวณรอบๆ ก็สูงใหญ่เช่นเดียวกับต้นไม้ยักษ์

คลองกระเวน และรอบบริเวณจะเต็มไปด้วยต้นหมาก

คลองกระเวน


สุดท้ายภาพแผนที่สถานที่ท่องเที่ยว บ้านไร่ อุทัยธานี


Nui Panna July 7, 2017

BNK48 Debut Single "Aitakatta - อยากจะได้พบเธอ"
รายชื่อเพลง
M-1. Aitakatta (อยากจะได้พบเธอ)
M-2. Oogoe Diamond (ก็ชอบให้รู้ว่าชอบ)
M-3. 365Nichi no Kamihikouki (365วันกับเครื่องบินกระดาษ)
M-4. Aitakatta (อยากจะได้พบเธอ) (Off vocal ver.)
M-5. Oogoe Diamond (ก็ชอบให้รู้ว่าชอบ) (Off vocal ver.)
M-6. 365Nichi no Kamihikouki (365วันกับเครื่องบินกระดาษ) (Off vocal ver.)
ซึ่งมีของแถมพิเศษภายในกล่อง คือ บัตรเข้าร่วมอีเวนท์งานจับมือ BNK48 1 ใบ และ รูปสุ่ม 1 ใบ (จาก 30 แบบ) โดยงานจับมือครั้งแรกของสาวๆ ในซิงเกิล Aitakatta วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

 Debut Single Aitakatta - อยากจะได้พบเธอ
Debut Single Aitakatta - อยากจะได้พบเธอ


BNK48 Debut Single "Aitakatta - อยากจะได้พบเธอ"
BNK48 Debut Single "Aitakatta - อยากจะได้พบเธอ"

Nui Panna July 1, 2017

BNK48 Roadshow เป็นการเดินสายแนะนำวงให้รู้จักในวงกว้าง จะได้พบกับการแสดงและกิจกรรมจากสมาชิกของ BNK48 ในช่วงแรกๆจะเปิดตัวตามสาขาของห้าง The mall ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรของ BNK48 เริ่มที่แรกที่ The mall บางแค ในวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2560 และเดินสายไปต่างจังหวัดครั้งแรกของวงที่ The mall โคราช วันที่ 15-16 กรกฎาคม 2560

  1. The mall บางแค ในวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2560
  2. The mall งามวงศ์วาน ในวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2560
  3. The mall โคราช ในวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2560
  4. The mall บางกะปิ ในวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2560
  5. The mall ท่าพระ ในวันที่ 29-30 กรกฎาคม 2560
  6. Bluport Huahin ที่ Blu' Hall ชั้น 1 ในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2560
BNK48 Roadshow
BNK48 Roadshow



สีห้อมหรือสีครามสังเคราะห์

สีห้อมหรือสีครามสังเคราะห์ มีชื่อทั่วไปว่า Indigo blue หรือ Indigo tin ลักษณะเป็นผลึกรูปเข็มสีม่วงหรือสีน้ำเงิน ระเหิดที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส มีคุณสมบัติไม่ละลายในน้ำ แอลกอฮอล์ อีเธอร์และกรดเจือจาง แต่ละลายดีมากในสารละลายอะนีลีนและพีรีดีน ถ้าละลายในตัวละลายไม่มีขั้วจะปรากฏสีม่วงแต่ถ้าละลายในตัวละลายมีขั้วและเกิดเป็นสีน้ำเงิน ถ้าทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกเย็นจะเกิดกรด disulponic ซึ่งทำให้อยู่ในรูปเกลือได้ง่าย เรียกว่า Indigo caramine สีน้ำเงินเข้มใช้ย้อม จัดเป็นสีแอซิด (Acid dye) มีกระบวนการย้อมต่างจากการย้อมหม้อห้อมหรือคราม ซึ่งเป็นสีแวต (อัจฉราพร ไสละสูตร)

Indigo Blue ถูกรีดิวส์ในสารละลายด่างกลายเป็นสารไม่มีสีเรียกว่า Indigo white มีค่าการดูดซึมแสงสูงสุดที่มีความยาวคลื่น 405 นาโนเมตร (ไพศาล คงคาฉุนฉายและคณะ) ตัวดิวส์และด่างมีหลายคู่ได้แก่ ไฮโดรซัลไฟร์กับโวเดียมไฮร์ดรอกไซต์ (Na2s204/NaoH) Indigo white ถูกออกซิเจนไดร์ได้ง่ายมากด้วยออกซิเจนในอากาศและกลับไปเป็น Indigo blue

สีหม้อห้อมหรือสีคราม เป็นสีที่เก่าแก่มาก สกัดได้จากใบของพืชแต่ทำให้สีบริสุทธิ์ได้ยาก เมื่อนำไปย้อมผ้าทำให้ได้สีไม่คงที่จึงยากต่อการผลิตผ้าหม้อห้อมในระดับอุตสาหกรรมได้ ในที่สุดมนุษย์ก็ได้สังเคราะห์สีหม้อห้อมหรือสีครามในเชิงอุตสาหกรรมขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด

การย้อมสีสังเคราะห์

สีสังเคราะห์ตอบโจทย์งานในระดับอุตสาหกรรม มีความคงทนกว่าสีธรรมชาติ หาซื้อง่าย และสามารถย้อมได้ครั้งละจำนวนมากตามความต้องการของลูกค้าได้ โดยมีขั้นตอนการย้อมแบบง่ายๆดังนี้

  1. นำผ้าที่จะใช้ย้อมหรือตัดสำเร็จรูปแล้ว (ต้องใช้ด้ายที่เป็นผ้าฝ้ายเท่านั้น) แช่น้ำประมาณ 2-3 วัน เพื่อล้างไขมันหรือสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากผ้าก่อน
  2. จากนั้นนำผ้าลงย้อมในหม้อน้ำสีคราม 4-5 ครั้ง แล้วนำไปตากแดดที่ไม่ร้อนจัด เพราะถ้าโดนแดดร้อนมากๆผ้าจะด่าง อากาศหน้าหนาวจะย้อมผ้าได้ดีเพราะแดดไม่แรงเหมือนหน้าร้อน
  3. ขั้นตอนสุดท้าย นำผ้าที่ย้อมสีครามแล้วลงต้มในหม้อที่ผสมสีสังเคราะห์ในน้ำเดือดประมาณ 10-15 นาที ต้องคอยพลิกผ้าที่ย้อมอยู่ตลอดเพื่อไม่ให้สีตกตะกอน จากนั้นนำไปตากให้แห้งเพื่อรอการลงแป้ง และรีดให้เรียบ


ภาพการย้อมด้วยครามเคมี จากวิทยากรจังหวัดแพร่
อบรมให้กลุ่มคลัสเตอร์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุทัยธานี



ครามเคมี
ครามเคมี


สารครามเริ่มเป็นสีเหลือง แสดงว่าพร้อมสำหรับการย้อมแล้ว
สารครามเริ่มเป็นสีเหลือง แสดงว่าพร้อมสำหรับการย้อมแล้ว


สารครามเริ่มเป็นสีเหลือง แสดงว่าพร้อมสำหรับการย้อมแล้ว
สารครามเริ่มเป็นสีเหลือง แสดงว่าพร้อมสำหรับการย้อมแล้ว


ล้างเส้นฝ้ายให้สะอาด
ล้างเส้นฝ้ายให้สะอาด


ตากหมาดๆ ให้สะเด็ดน้ำ
ตากหมาดๆ ให้สะเด็ดน้ำ


สาวบ้านไร่ทำการย้อม โดยจุ่มเส้นฝ้ายให้มิดจนแน่ใจว่าสีครามติดเส้นฝ้ายทั้งหมด จึงนำขึ้น
สาวบ้านไร่ทำการย้อม โดยจุ่มเส้นฝ้ายให้มิดจนแน่ใจว่าสีครามติดเส้นฝ้ายทั้งหมด จึงนำขึ้น


ทำการย้อม โดยจุ่มเส้นฝ้ายให้มิดจนแน่ใจว่าสีครามติดเส้นฝ้ายทั้งหมด จึงนำขึ้น
ทำการย้อม โดยจุ่มเส้นฝ้ายให้มิดจนแน่ใจว่าสีครามติดเส้นฝ้ายทั้งหมด จึงนำขึ้น


สารครามเริ่มทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จากสีเหลืองจะเริ่มเป็นสีคราม
สารครามเริ่มทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จากสีเหลืองจะเริ่มเป็นสีคราม


สารครามเริ่มทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จากสีเหลืองจะเริ่มเป็นสีคราม
สารครามเริ่มทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จากสีเหลืองจะเริ่มเป็นสีคราม


เส้นฝ้ายเริ่มเป็นสีคราม
เส้นฝ้ายเริ่มเป็นสีคราม



แหล่งที่มาของข้อมูล
"มหัศจรรย์หท้อห้อม ภูมิปัญญา เมืองแพร่" จังหวัดแพร่, สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่, วิทยาลัยชุมชนแพร่, คลัสเตอร์หม้อห้อมแพร่

ภาพประกอบจาก
กลุ่มคลัสเตอร์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุทัยธานี, เครดิตผู้ย้อม คุณตุ๊ก หวีวัน


การย้อมผ้าหม้อห้อมด้วยสีธรรมชาติ

ใบของต้นห้อมและต้นคราม จะมีสารที่เรียกว่า อินดิแคน (Indican) ซึ่งสามารถละลายน้ำได้แต่ไม่มีสี อินดิแคนเมื่อทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนจะเกิดเป็นกลูโคสและสารอินโดซิล (Indoxyl) เมื่ออินโดซิลรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนในอากาศจะเกิดเป็นสารคราม (Indigo) ในที่นี้จะเรียกว่า ห้อมเปียก หรือ ครามเปียก

สารครามจะถูกรีดิวส์ให้เป็น ลิวโดอินดิโก้ (Leucoindigo หรือ White Indigo) ซึ่งมีสีเหลืองและละลายน้ำได้

สารคราม (Indigo) มีคุณสมบัติไม่ละลายในน้ำแต่จะละลายได้ดีในด่าง ดังนั้นในการก่อหม้อสำหรับย้อมห้อม/คราม จึงต้องมีการปรับสภาวะในหม้อให้สมดุล เช่น ความเป็นกรดเป็นด่าง อุณหภูมิ และปริมาณสารครามในสภาวะที่เหมาะสม สารครามจะถูกรีดิวส์ให้เป็น ลิวโดอินดิโก้ (Leucoindigo หรือ White Indigo) ซึ่งมีสีเหลืองและละลายน้ำได้ โดยลิวโคอินดิโก้จะถูกดูดซับและติดที่เส้นใยผ้า เมื่อลิวโคอินดิโก้ที่ถูกดูดซับติดกับเส้นใยผ้านั้นสัมผัสกับกาอาศก็จะรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศกลายเป็นสีน้ำเงินติดที่เส้นใยผ้า

การย้อมสีครามธรรมชาติ จำทำการย้อมวันละ 2 ครั้งเท่านั้น คือ ตอนเช้าและตอนเย็น

ในการย้อมสีครามธรรมชาติ จำทำการย้อมวันละ 2 ครั้งเท่านั้น คือ ตอนเช้าและตอนเย็น ทั้งนี้ก็เพื่อให้สารครามที่มีอยู่ในน้ำย้อมนั้นเปลี่ยนเป็นลิวโคอินดิโก้ให้มีปริมาณมากพอที่จะย้อมผ้าหรือฝ้ายในครั้งต่อไปได้ โดยระยะเวลาในการย้อมแต่ละครั้งจะต้องห่างกันประมาณ 6-8 ชั่วโมง ซึ่งความเข้มของสีครามบนผ้าหรือฝ้ายจะขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่นำผ้าหรือฝ้ายไปย้อม

ระยะเวลาในการย้อมแต่ละครั้งจะต้องห่างกันประมาณ 6-8 ชั่วโมง


แหล่งที่มาของข้อมูล
"มหัศจรรย์หท้อห้อม ภูมิปัญญา เมืองแพร่" จังหวัดแพร่, สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่, วิทยาลัยชุมชนแพร่, คลัสเตอร์หม้อห้อมแพร่

ภาพประกอบจาก
กลุ่มคลัสเตอร์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุทัยธานี


ห้อมเปียก

การย้อมผ้าหม้อห้อมแบบดั้งเดิมคือการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ ฉะนั้นต้องนำต้นห้อมมาสกัดสีเสียก่อน

การสกัดสีจากต้นห้อมเป็นภูมิปัญญาในการนำสารอินดิแครน (Indican) ที่มีในต้นห้อมออกมาใช้ทำสีย้อมผ้า เมื่อต้นห้อมเหมาะแก่การเก็บเกี่ยวจะถูกนำมาแปรรูปด้วยการแช่น้ำจนเน่าเปื่อยแล้วตีกับปูนขาว เพื่อให้ได้สสารข้นเป็นโคลนสีครามเรียกว่า "ห้อมเปียก" (Indigo Paste) หรือ "เปอะ" ในภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ

ห้อมเปียกเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับทำน้ำย้อมผ้า จะถูกเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดซึ่งสามารถเก็บไว้ใช้ได้หลายปี

ห้อมเปียก

ปูนขาวแช่น้ำสำหรับใช้ตีกับน้ำห้อม

ปูนขาวแช่น้ำสำหรับใช้ตีกับน้ำห้อม


วิธีทำห้อมเปียก (Indigo Paste)

วัตถุดิบสำหรับทำห้อมเปียก

  1. ห้อม (ใช้ส่วนใบและก้าน) 1 กิโลกรัม
  2. น้ำสะอาด 10 ลิตร
  3. ปูนขาว 120 กรัม

ขั้นตอนการทำห้อมเปียก

  1. ตัดส่วนยอดและใบห้อมในตอนเช้าจะได้เนื้อห้อมมากและคุณภาพดี (ช่วงเช้าไม่เกิดแปดโมงและช่วงเย็นหลังสี่โมงเป็นเวลาที่ใบห้อมจะสดและให้สีมาก)
  2. ล้างใบห้อมด้วยน้ำสะอาด มัดเป็นกำวางลงในภาชนะ เติมน้ำสะอาด นำวัสดุที่มีน้ำหนักวางกดใบห้อมให้จมน้ำ แช่ใบห้อมให้เน่าเปื่อยเป็นเวลา 24-72 ชั่วโมง
  3. แยกใบห้อมที่ไม่เน่าเปื่อยทิ้งจนเหลือแต่น้ำห้อม
  4. เติมปูนขาว 120 กรัม ต่อน้ำห้อม 10 ลิตร ใช้ชะลอมซวก (ตีขึ้น-ลง) จนเกิดฟองสีน้ำเงิน ซวกจนกระทั่งฟองแตกตัวและยุบตัวลงไป ทิ้งไว้ 1 คืนให้ตกตะกอน
  5. เทน้ำสีเหลืองที่อยู่ด้านบนเนื้อห้อมทิ้งให้เหลือแต่ตะกอนที่อยู่ก้นหม้อ กรองตะกอนด้วยผ้าฝ้าย จะได้ห้อมเปียกลักษณะเหมือนครีม ไม่แห้งและเหลวเกินไป เก็บห้อมเปียกในภาชนะที่มีฝาปิดสนิทเพื่อนำไปใช้ก่อหม้อย้อมผ้าต่อไป

วิธีทำห้อมเปียก (Indigo Paste)

บรรณานุกรม
นุชนาฏ ชาวปลายนา, จอมขวัญ เวียงเงิน. (2559). วิถี+วิธี หม้อห้อมเมืองแพร่. วิทยาลัยชุมชน, แพร่.




แหล่งปลูกต้นห้อม : ต้นห้อมกับป่าที่นาตอง


ต้นห้อมกับป่าที่นาตอง

สูงขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลปานกลางกว่าแปดร้อยเมตรบนแนวภูเขาฝั่งตะวันออกของจังหวัดแพร่ คือ บ้านนาตอง บ้านอีกหลังของต้นห้อม

นาตองเป็นหมู่บ้านเล็กๆบนภูเขาสูง อยู่ในเขตตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง มีห้วยแม่ก๋อนไหลผ่าน ฤดูฝน-ฝนตกชุก ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ส่วนฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 24 องศาเซลเซียส ดังนั้นที่นี่จึงมีปัจจัยที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นห้อมได้ดี คือมีดินชุ่มชื้นและมีอากาศเย็น

ต้นห้อม ที่นาตอง

ต้นห้อมที่นาตองอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่โดยปลูกไว้ภายใต้ร่มเงา (Shade Tree) ซึ่งตามธรรมชาติของป่าพืชทั้งต้นเล็กต้นใหญ่จะอาศัยเกื้อกูลกันและกัน ต้นไม้เล็กๆจะได้ปุ๋ยและแร่ธาตุจากต้นไม้ใหญ่ ต้นไม้ใหญ่อาศัยต้นไม้เล็กคลุมหน้าดินเพื่อเก็บกักความชุ่มชื้น

ชาวนาตองจะปลูกต้นห้อมในที่ทำกินของตนเอง ปลูกแซมกับต้นไม้ในสวนปลูกไว้ปลายไร่ปลายนา เพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่ได้อย่างมีประโยชน์ การปลูกห้อมใต้ร่มเงาทำให้ต้นห้อมสวยงามและมีระยะเวลาการให้ผลผลิตที่ยาวนานกว่า เนื่องจากไม้บังร่มจะช่วยลดความเข้มข้นแสง มีความชื้นสูงจากการทับถมของใบไม้ที่ร่วงหล่นกลายเป็นปุ๋ยให้ทั้งต้นห้อมและต้นไม้ใหญ่ แถมยังช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน

นอกจากนี้การปลูกต้นห้อมภายใต้ร่มเงายังเป็นการลดปัญหาการแผ้วถางพื้นที่ป่า อีกทั้งชาวบ้านจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจึงนำไปสู่การทำเกษตรร่วมกับการอนุรักษ์ผืนป่าได้อย่างยั่งยืน การปลูกห้อมแซมกับป่าช่วยสร้างความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ เป็นระบบนิเวศที่ทุกส่วนต่างเกื้อกูลกัน ห้อมอยู่กับป่าได้และชาวบ้านก็ได้ประโยชน์จากป่าด้วย

ชาวบ้านนาตองได้จัดตั้ง ?กลุ่มผลิตน้ำย้อมผ้าจากต้นห้อม? เพื่อแปรรูปห้อมสดเป็นห้อมเปียกสำหรับจำหน่ายแก่ผู้ประกอบการผ้าหม้อห้อมธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีการขยายพื้นที่ปลูกห้อมโดยการสร้างเครือข่ายกลุ่มปลูกห้อมเพื่อเพิ่มที่ปลูกให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตห้อมเปียกให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอนาคต

แปลงเพาะ ต้นห้อม


บรรณานุกรม
นุชนาฏ ชาวปลายนา, จอมขวัญ เวียงเงิน. (2559). วิถี+วิธี หม้อห้อมเมืองแพร่. วิทยาลัยชุมชน, แพร่.


แหล่งปลูกต้นห้อม : วิธีทำห้อมเปียก (Indigo Paste)