ถ้าเราลองสังเกตุข้างขวดข้างแกลลอนของน้ำยาล้างห้องน้ำ บางขวดจะมีสัญญลักษณ์เตือน บางขวดก็ไม่มี ขวดที่ไม่มีแสดงว่าไม่มีสารเคมีร้ายแรง ไม่มีสารกัดกร่อน แต่ต้องออกแรงขัดถูกันมากขึ้นเหมาะสำหรับแม่บ้านพ่อบ้านที่ขยันทำความสะอาดบ่อย แต่ถ้าเจอห้องน้ำหรือพื้นผิวที่สกปรกมากๆ ต้องใช้น้ำยาล้างห้องน้ำที่มีฤทธิ์รุนแรงมากขึ้น มีสารกัดกร่อน สารเคมีร้ายแรงอยู่ด้วย จึงมีคำเตือนในผลิตภัณฑ์ว่าห้ามนำไปใช้กับอ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ หรือที่มีโลหะ สัญญลักษณ์ที่เจอกันบ่อยๆคือ


สัญญลักษณ์ ความหมาย
สัญญลักษณ์ สารกัดกร่อน
สารกัดกร่อน สามารถกัดกร่อนผิวหนัง และเป็นอันตราย ต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น กรดเกลือ กรดกำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์ แคลเซียมไฮเปอร์คลอไรด์
- กัดกร่อนผิวหนังและ ระคายเคืองต่อระบบ ทางเดินหายใจ
- ทำปฏิกิริยากับโลหะ ทำให้เกิดก๊าซไวไฟ
- อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
สัญญลักษณ์ พิษเฉียบพลัน พิษร้ายแรง
ความเป็นพิษเฉียบพลัน/พิษร้ายแรง (เป็นอันตรายถึงชีวิต)
ทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงหลังจากการได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางปากหรือผิวหนังเพียงครั้งเดียว หรือหลายครั้งภายในเวลา 24 ชั่วโมง หรือทางการหายใจเป้นเวลา 4 ชั่วโมง
ตัวอย่างสัญญลักษณ์ข้างขวดน้ำยาล้างห้องน้ำ






จะรู้ได้อย่างไรว่าอาการอ่อนล้าที่เกิดขึ้นเป็นปกติ? มาเช็คพร้อมกันเถอะ

ภาพประกอบจาก : besthealthmag.ca

ในยุคที่ทุกอย่างดูเร่งรีบ การทำงานแข่งกับเวลาจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และแน่นอนว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่อาจถึงขั้นทำงานหามรุ่งหามค่ำจนลืมดูแลตัวเอง สุดท้ายก็จบลงด้วยการเกิดความรู้สึกอ่อนล้าทั้งกายและใจ อย่างไรก็ตาม ความจริงแล้วอาการอ่อนล้าเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนค่ะ แม้ว่าดูเหมือนเป็นอาการทั่วไปที่ไม่น่ากังวลสักเท่าไร แต่ในบางครั้งร่างกายอาจกำลังส่งสัญญาณเตือนบางอย่างให้คุณรู้ เราลองมาดูรายละเอียดพร้อมกันเลยดีกว่า


อาการอ่อนล้าในผู้ใหญ่ระดับไหนที่เรียกว่าปติ?

อาการอ่อนล้าและความรู้สึกเหนื่อยที่เกิดขึ้นในวันถัดไปถือเป็นเรื่องปกติหากคุณนอนดึก แต่จะเริ่มน่าเป็นห่วงเมื่ออาการที่ว่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัย เช่น การเผลองีบหลับในสถานการณ์ที่คุณจำเป็นต้องมีสติอย่างตอนขับรถ หรือตอนใช้เครื่องจักร ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์หากอาการอ่อนล้าเริ่มทำให้ชีวิตไม่ปลอดภัย ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องทราบว่าคุณประสบอาการมานานเพียงไรแล้วเพื่อที่จะได้หาสาเหตุของความเหนื่อยล้า

สาเหตุที่ทำให้รู้สึกเหนื่อย?

วิถีชีวิตและนิสัยสามารถส่งผลต่อการพักผ่อน ไม่ว่าจะเป็นการมีสุขลักษณะการนอนที่ไม่ดี กะการทำงาน เจ็ทแล็ก และการใช้สารบางชนิด ก็ล้วนแต่ทำให้คุณมีอาการอ่อนล้ามาก
การทานยาบางชนิดเกินขนาดและการหยุดใช้ยาก็สามารถทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้าเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ยาต้านฮีสตามีน ยากันชัก ยาต้านอาการทางจิต ยาต้านเศร้า ยาแก้ปวด และยาระงับความวิตกกังวล เป็นต้น
ในขณะเดียวกัน โรคหรือภาวะที่สามารถทำให้คุณเหนื่อยล้ามากกว่าปกติมีดังนี้
• โรคโลหิตจาง
• ภาวะอิเล็กทรอไลต์เสียสมดุล
• โรคทางพันธุกรรม โรคทางระบบประสาท และโรคเกี่ยวกับการนอน
• ภาวะที่เกี่ยวกับหัวใจ ปอด ไทรอยด์ และตับ
• ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคไบโพล่าร์
• ปัญหาเกี่ยวกับการเผาผลาญ เช่น โรคเบาหวาน
• โรคอ้วน
• โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
• การกรน
• มะเร็งหรือโรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้อ


ฉันสามารถป้องกันอาการอ่อนล้าและความรู้สึกหมดแรงได้อย่างไร?
การมีสุขลักษณะการนอนที่ดีเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งสิ่งที่ควรและไม่ควรทำมีดังนี้

สิ่งที่ควรทำ
• นอนให้มากเท่าที่ต้องการพักผ่อนเท่านั้น แล้วค่อยลุกจากเตียง
• นอนให้ได้เวลาเดิม
• ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยทำก่อนเวลานอนอย่างน้อย 4-5 ชั่วโมง
• ทำให้สภาพแวดล้อมในห้องนอนเอื้อต่อการนอนหลับ
• จัดการกับความรู้สึกวิตกกังวลให้เรียบร้อยก่อนเวลาเข้านอน
สิ่งที่ไม่ควรทำ
• พยายามนอนทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รู้สึกง่วง
• ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหลังจากทานอาหารกลางวัน
• ดื่มแอลกอฮอล์ใกล้เวลาเข้านอน
• สูบบุหรี่โดยเฉพาะตอนเย็น
• เข้านอนโดยที่ยังหิว
• ใช้อุปกรณ์ที่หน้าจอมีแสงก่อนเข้านอน


ผู้ใหญ่จำเป็นต้องนอนวันละกี่ชั่วโมง?


จำนวนชั่วโมงการนอนจะขึ้นอยู่กับอายุ ซึ่ง National Sleep Foundation แนะนำว่า คนที่มีอายุ 18-64 ปี ควรนอนให้ได้คืนละ 7-9 ชั่วโมง ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จำเป็นต้องนอน 7-8 ชั่วโมงต่อคืน


แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการอ่อนล้าเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพทีอาจเกิดขึ้น?

สัญญาณที่บอกว่าอาการอ่อนล้าสามารถเป็นอาการของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น
• ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่ว่าจะทางกายหรือใจ
• ไม่สามารถทำให้ตัวเองตื่นตัว หรือไม่สามารถเริ่มต้นทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้
• นอนโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือนอนในเวลาที่ไม่เหมาะสม
• ความสามารถในการทำกิจกรรมลดลง
• อ่อนล้าง่าย
• ไม่มีสมาธิ ความจำแย่ลง หรืออารมณ์ไม่เสถียร

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?

คุณอาจไปพบแพทย์ทันที หรือแนะนำให้คนรอบตัวไปพบแพทย์เมื่อกังวล ซึ่งแพทย์อาจประเมินคุณเพื่อหาระดับความรุนแรงของอาการและสาเหตุที่เป็นไปได้ โดยปกติแล้วการประเมินจะเริ่มจากการสอบประวัติโดยละเอียดและการตรวจร่างกาย ซึ่งคุณอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การทำ Imaging Studies หรือ Sleep Studies เพื่อหาสาเหตุ



ยาแก้แพ้และยาแก้คัดจมูกทุกชนิด เช่น ไดเฟนไฮดรามีน (แก้แพ้) ซูโดอีเฟดรีน (แก้คัดจมูก) เฟนิลโพรพาโนลามีน และคอลเฟนิรามีน อาจก่ออันตรายร้ายแรงถ้าสัตว์บังเอิญกินเข้าไปเกินขนาด สัญญาณที่แสดง มีอาการซึม หายใจลำบาก ตื่นเต้น กล้ามเนื้อเต้นหรือสั่น ชัก หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาเจียน และไข้ขึ้น การรักษามักได้ผลดีและมักประกอบด้วยการทำให้อาเจียน ถ้าสัตว์เพิ่งกินยาเข้าไปไม่นาน ให้ถ่านผง ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ ให้ออกซิเจน ให้ยาไดอะเซแพมหรือยาฟีโนบาร์บิทาลเพื่อควบคุมอาการชัก และให้ยาโพรพราโนลอลหรืออะโทรพีนเพื่อปรับจังหวะการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ


ยาที่ใช้ในการรักษาการเจ็บไข้ได้ป่วยของมนุษย์ ยาบางตัวไม่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยงในบ้าน ซึ่งไม่ใช่สัตว์เลี้ยงที่ไม่ได้รับเชิญนะ

พาราเซตามอล

Paracetamol พาราเซตามอล
Paracetamol พาราเซตามอล

พาราเซตามอล เป็นยาบรรเทาอาการปวดและลดไข้ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับมนุษย์ แต่เป็นยาพิษร้ายแรงสำหรับสุนัขและโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแมว ขนาดยาที่เป็นพิษสำหรับสุนัขคือ 165 มิลลิกรัม และสำหรับแมวอยู่ที่ 55 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งขนาดยาพาราเซตามอลขนาดปกติอยู่ที่ 325 มิลลิกรัม สามารถฆ่าแมวได้ 1 ตัว

สัญญาณที่แสดงอาการพิษของยาพาราเซตามอล ต่อสุนัขคือ ซึม อาเจียน น้ำปัสสาวะสีน้ำตาลแดง คล้ำ และตายภายในเวลา 2-5 วัน แมวที่ได้รับพิษยาพาราเซตามอลอาจมีอาการหน้าบวม อุ้งเท้าบวม เบื่ออาหาร น้ำลายฟูมปาก อาเจียน ซึม เหงือกเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลหรือม่วงแดง น้ำปัสสาวะเป็นสีช็อกโกแลต อาการทั้งหลายเหล่านี้จะแสดงหลังได้รับยาเพียง 1-2 ชั่วโมง และตายภายในเวลา 18-36 ชั่วโมง
การรักษาแมวที่ได้รับพิษยาพาราเซตามอลมักไม่ค่อยได้ผล การรักษาสุนัขได้ผลดีกว่า แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดยาที่ได้รับด้วย ต้องพาสัตว์ที่ต้องสงสัยว่าได้รับพิษยาพาราเซตามอลไปโรงพยาบาลสัตว์ทันที การรักษาในโรงพยาบาลอาจมีการทำให้อาเจียน ให้กินถ่านผง ให้ยาอะเซทิลซิสทีน ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ ให้ออกซิเจนหรือต้องถ่ายเลือดในตัวทั้งหมด แมวที่ได้รับพิษยาพาราเซตามอลต้องประคับประคองให้มากที่สุด เพราะอาจตายได้เนื่องจากความเครียด


โดยปกติแล้วธรรมชาติสร้างให้ร่างกายของคนเรามีภูมิต้านทาน ซึ่งจะทำหน้าที่ต่อต้านสิ่งที่เป็นภัยต่อร่างกาย เช่น สารพิษ สิ่งแปลกปลอม เชื้อโรคต่างๆ เมื่อได้รับอันตราย ร่างกายจะเตือนผู้ที่ได้รับสารนั้นด้วยการหลั่งสารหลายชนิดในร่างกาย เช่น อีสตามีน (Histamine) สารที่หลั่งออกมานี้จะก่อให้เกิดอาการแพ้ทำให้มีอาการต่างๆ เช่น อักเสบ บวม แดง คัน และเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายเพื่อกำจัดสิ่งที่เป็นอันตรายนั้นออกไป

เมื่อใดที่ภูมิต้านทานทำงานผิดปกติ แม้จะได้รับสิ่งที่คนทั่วไปได้รับแล้วไม่เป็นอันตราย เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ยางไม้ ความร้อน ความเย็น อาหารทะเล ก็ทำให้เกิดการแพ้ได้ หรือที่เรียกว่าภูมิแพ้ ในทำนองเดียวกันอาการแพ้นี้ถ้าเกิดจากยาก็เรียกว่าการแพ้ยา
การแพ้ยาไม่ได้ขึ้นกับขนาดของยา หมายถึงได้รับยาชนิดนั้นปริมาณมากน้อยเท่าใดก็เกิดการแพ้ได้ทันที และไม่ทำลายสามารถจะชี้ชัดได้ว่าจะเกิดขึ้นกับใครบ้าง แต่ก็อาจพบได้ง่ายในคนที่มีประวัติแพ้ยาชนิดหนึ่งมาก่อน หรือคนที่มีประวัติของโรคภูมิแพ้ เช่น หืด หวัดเรื้อรัง ลมพิษ ผื่นคัน การรับประทานยามีโอกาสแพ้ยาน้อยที่สุด ส่วนการทายาจะทำให้แพ้ง่ายที่สุด และถ้าฉีดยาโอกาสที่แพ้เกิดรุนแรงและแก้ยากที่สุด ฉะนั้นการฉีดยาบางชนิดจึงต้องทดสอบดูก่อนว่าแพ้หรือไม่


การแพ้ยาแบ่งออกได้เป้น 2 ชนิด
1. การแพ้ยาที่เกิดขึ้นแบบทันทีทันใด แบ่งเป็น อะนาฟัยแลกซีส (Anaphylaxis) เป็นอาการแพ้ที่พบได้น้อย แต่ว่ารุนแรงถึงชีวิต เนื่องจากหลอดลมตีบ ความดันโลหิตต่ำ หมดสติ อาการที่เกิดขึ้นรวดเร็วมากต้องทำการรักษาอย่างทันท่วงที มิฉะนั้นอาจเสียชีวิตได้ ยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้เช่นนี้ เช่น เพนนิซิลิน ยาฉีดทุกชนิด
อาการแพ้อื่นๆ เช่น มีอาการผื่นคัน บวม มีไข้ หอบหืด หากหยุดยา 2-3 วันไข้ก็จะหายไป บางครั้งอาจเกิดอาการหอบหืด คัดจมูกได้
2. การแพ้ยาแบบทิ้งช่วง ร่างกายจะแสดงอาการหรือมีการตอบสนองต่อยาหลังจากได้รับยาไปแล้ว 1-2 วัน อาการที่พบได้แก่ ผื่นแดง อักเสบ เม็ดเลือดขาวลดลง โลหิตจาง แผลในกระเพาะอาหารจนถึงไตถูกทำลาย

เมื่อแพ้ยาควรทำอย่างไร?

ถ้าแพ้เพียงเล็กน้อย เช่น มีผื่นแดง คัดจมูก แน่นหน้าอก ให้หยุดยาเปลี่ยนไปใช้ยาอื่นแทน อาการเหล่านี้จะหายเองภายใน 2-3 ชั่วโมง ถ้ามีผื่นคันมากอาจให้ยาแก้แพ้ชนิดรับประทานบรรเทาอาการได้ ถ้าแพ้รุนแรงให้หยุดยาและรีบไปพบแพทย์ ขณะส่งแพทย์ควรทำให้ผู้ที่แพ้อาเจียน หรือให้รับประทานสิ่งที่ช่วยลดการดูดซึมของยา เช่น ยาเม็ดผงถ่าน ยาแก้ท้องเสีย เคาลินเพคติน เมื่อแพ้ยาใดแล้วต้องจดจำชื่อสามัญทางยาของยาที่แพ้นั้นหรือจดใส่สมุดบันทึกไว้ ไม่ควรจำสีหรือรูปร่างลักษณะของเม็ดยา เนื่องจากไม่อาจบ่งบอกได้แน่นอนว่าเป็นยาอะไร หากไม่มีชื่อยาบนซองหรือฉลากที่ใช้ ท่านควรกลับไปขอชื่อสามัญทางยาจากแหล่งที่ได้รับยานั้นเพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง งดใช้ยาที่ท่านเคยแพ้และเมื่อไปพบแพทย์หรือซื้อยาควรแจ้งให้ทราบว่าท่านเคยแพ้ยาอะไร เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยานั้น หรือยาที่มีส่วนผสมของยาที่ท่านเคยแพ้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงกว่าที่เคยเป็นได้

ที่สำคัญคือ ไม่ควรใช้ยาพร่ำเพรื่อโดยไม่จำเป็นโดยเฉพาะยาที่ท่านไม่มีโอกาสทราบเลยว่าเป้นยาอะไร เช่น ยาชุด ยาที่ไม่มีฉลาก หากเจ็บป่วยมากต้องได้รับการรักษาด้วยา ควรพบแพทย์หรือขอคำแนะนำเรื่องยาจากเภสัชกรจะดีที่สุด

แพ้ยา โดย ภญ.พูลสุข จันทร์วัฒนเดชากุล จาหนังสือ "หยูกยาน่ารู้" มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ


พืชผักและผลไม้มีรสชาติและสีสันที่แตกต่างกัน ที่เรามองเห็นและสัมผัสรสชสติด้วยลิ้นของเรา แต่ร่างกายของเราก็สามารถสัมผัสถึงประโยชน์และโทษของสีสันและรสชาติของพืชผักและผลไม้ได้ด้วย ตามตำราแพทย์จีนเชื่อว่า สีทั้ง 5 รสชาติทั้ง 5 และอวัยวะ 5 ส่วน ล้วนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

สีแดง บำรุงหัวใจ รสขมเข้าสู่หัวใจ อยากให้ใบหน้าเปล่งปลั้งด้วยเลือดฝา ควรรับประทานผักและผลไม้ท่มีสีแดงและรสขมมากๆ เช่น มะเขือเทศ ส้ม เป็นต้น

สีเขียว บำรุงตับ รสเปรี้ยวเข้าสู่ตับ ผู้ที่มีสีหน้าออกเขียวไม่ควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีสีเขียวและรสเปรี้ยวมากเกินไป แต่ควรรับประทานผลไม้จำพวก มะละกอ ทับทิบ ฯลฯ ให้มาก

สีดำ บำรุงไต รสเค็มเข้าสู่ไต ผู้ที่มีสีหน้าดำคล้ำควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีสีดำและมีรสเค็มให้น้อย มิฉะนั้นอาจทำให้รู้สึกอึดอัด แน่นหน้าอก สีผิวหมองคล้ำ ควรรับประทานอาหารจำพวกสาหร่ายทะเลให้มาก

สีขาว บำรุงปอด รสเผ็ดเข้าสู่ปอด อยากให้ผิวพรรณผ่องใส ควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีสีขาวและรสเผ็ดให้มาก เช่น ก้านอ่อนของหน่อไม้น้ำ หัวหอม เป็นต้น

สีเหลือง บำรุงม้าม รสหวานเข้าสู่ม้าม ผู้ที่มีสีหน้าชีด ขาดสีเหลืองสดใส ควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองและรสหวาน เช่น แครอท เป็นต้น




บรรณานุกรม: เอส.จี โจเซฟ. สูตรน้ำผลไม้ปั่น อร่อยและดีต่อสุขภาพ. กรุงเทพ: ดวงกมล 2555.


  • เกลือ 1 ช้อนชา = 6 กรัม
  • ร่างกายต้องการโซเดียมไม่เกิน 2.3 กรัมต่อวันเทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา 4-5 ช้อนชา
  • เกลือ 1 ช้อนชา = โซเดียม 2.4 กรัม (40% ของเกลือ)

สูตรแหนมเห็ดที่ใช้เกลือในสัดส่วน 8%

  • แหนม 10 กรัมมีเกลือ 0.8 กรัม = โซเดียม 0.32 กรัม
  • แหนม 50 กรัมมีเกลือ 4 กรัม = โซเดียม 1.6 กรัม
  • แหนม 100 กรัมมีเกลือ 8 กรัม = โซเดียม 3.2 กรัม

ข้อแนะนำ

ควรบริโภคโซเดียมในอัตราส่วนที่เหมาะสมผู้ป่วยโรคไต และความดันโลหิตสูควรหลีกเลี่ยง

โซเดียมในอัตราส่วนที่เหมาะสม


เห็ด ถือเป็นผักชนิดหนึ่งที่ต่างจากผักอื่นๆ ตรงที่ไม่ต้องการแสงสว่าง (ligth) ในการสังเคราะห์แสงเพื่อการเจริญเติบโต เพียงอาศัยความมืดและความชื้นเท่านั้น เห็ดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ แม้เห็ดจะเป็นอาการที่ย่อยยาก ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารไม่ควรกินมาก แต่เห็ดก็มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการหลายอย่าง

เห็ดมีแคลอรี่น้อย ไขมันต่ำ ไม่มีโคเลสเตอรอล มีเกลือโซเดียมน้อย มีแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะ "โปรแตสเซียม" ช่วยลดความดันโลหิต และ "ซีลีเนียม" ซึ่งเป็นสารต้านมะเร็งและวิตามินมาก โดยเฉพาะวิตามินบี (เห็ดหอมสดจะมีวิตามินดีสูงมาก ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เสริมกระดูกและฟัน) มีกรดอมิโน ต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการ โดยเฉพาะกรดอมิโนกลูตามิกที่ช่วยเจริญอาหารอยู่ด้วย จึงทำให้ประสาทที่รับรู้รสอาหารทำงานได้ดี อาหารจึงยิ่งอร่อย


ชื่อเห็ด พลังงาน
(กิโลแคลอรี่)
โปรตีน
(กรัม)
แคลเซียม เหล็ก วิตามินบี1
(มิลลิกรัม)
เห็ดฟาง 28.00 3.40 10.00 0.93 0.07
เห็ดโคน 38.00 4.20 9.00 1.60 0.12
เห็ดหูหนู 43.00 1.40 60.00 6.10 0.04
เห็ดหอมสด 26.61 2.19 6.44 1.06 0.00

ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย, 2535

บรรณานุกรม : มูลนิธิพระดาบส. (2559). เอกสารประกอบการฝึกอบรม หลักสูตร "การเพาะเลี้ยงเห็ดแบบครบวงจร" รุ่นที่ 149. สมุทรปราการ: โครงการลูกพระดาบส.



เห็ด เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามที่ที่มีความชื้นอยู่เสมอและอากาศจะต้องอบ ๆ เล็กน้อย บางครั้งก็ขึ้นตามรากไม้ บางชนิดก็ขึ้นตามเศษฟางเศษไม้หรือตามพื้นดิน และเห็ดนี้ก็มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดเข็มทอง เห็ดนางฟ้า เห็ดตับเต่า เป็นต้น ซึ่งเห็ดเหล่านี้นับว่ามีคุณค่าต่อร่างกายเราเป็นอย่างมาก ธาตุอาหารที่มีอยู่ในเห็ดโดยรวมแล้วก็จะมีสารอาหารประเภท วิตามินเอ วิตามินบี 2 น้ำ ธาตุถ่านปนน้ำ เกลืออินทรีย์ ใยหยาบ โปรตีน และมีเชื้อหมักของข้าวสาลีอยู่มากมายทีเดียว

สรรพคุณทางยาของเห็ด

  • ป้องกันโรคกระดูกอ่อน
  • รักษาโรคมีโลหิตน้อย
  • อาการวิงเวียนศีรษะเป็นประจำในผู้หญิง
  • เป็นไข้หวัด ปวดศีรษะ
  • เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก้ปวดประสาท
  • สามารถลดไขมันในหลอดเลือดได้

ข้อห้ามที่ควรทราบในที่นี้คือ ผู้ที่ออกหัดหรือออกอีสุกอีใสนั้นไม่ควรที่จะรับประทานเห็ด ไม่ว่าจะเป็นเห็ดชนิดใด ๆ ก็ตามก็ไม่ควรรับประทานทั้งนั้น

เห็ดนั้นมีหลายชนิดที่รับประทานได้ และก็มีเห็ดอีกหลายชนิดที่ไม่สามารถรับประทานได้ เห็ดที่ว่านั้นก็คือ ประเภทเห็ดเมา ซึ่งถ้ารับประทานเข้าไปจะเป็นพิษอาจเสียชีวิตได้ ฉะนั้นเห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติจะเก็บเอาไปกินเองนั้นจะต้องศึกษาให้รู้ว่าลักษณะเห็ดชนิดใดที่สามารถกินได้ เห็ดลักษณะใดที่กินไม่ได้ ทางที่ดีควรจะซื้อเห็ดจากตลาดจะปลอดภัยกว่า

บรรณานุกรม : วรินทิรา โภคาสุวิบูลย์. (2551). กินเป็นไกลโรค. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006).


ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ คําสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๑๔๓๕/๒๕๖๐ เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตํารับยา

ด้วยปรากฏข้อมูลทางวิชาการว่า ยาฟีนิลบิวตาโซน (Phenylbutazone) เป็นสาเหตุของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง เนื่องจากอาจทําให้เกิดโรคโลหิตจางจากภาวะไขกระดูกฝ่อ (aplastic anaemia) และเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ํา (agranulocytosis) ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้

ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ซ่ึงแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคําแนะนําของคณะกรรมการยาในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐จึงมีคําสั่งเพิกถอนทะเบียนตํารับยาสําหรับมนุษย์ที่มีตัวยาฟีนิลบิวตาโซน (Phenylbutazone) เป็นส่วนประกอบ จํานวน ๗๐ ตํารับ ตามบัญชีแนบท้าย

อนึ่ง หากผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่เห็นด้วยกับคําสั่งนี้ สามารถใช้สิทธิยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้โดยให้ทําคําฟ้องเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังศาลปกครองภายในเก้าสิบวันนับต้ังแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ปิยะสกล สกลสัตยาทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

บัญชีแนบท้ายคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ ๑๔๓๕/๒๕๖๐ เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา
ลำดับ - เลขทะเบียนตำรับยา - ชื่อการค้า - ผู้รับอนุญาต
1 1A 1404/27 BUTAZONE ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.เอส.พี.ลาบอราตอรี่
2 1A 1568/27 CHANETAZONE TABLETS ห้างหุ้นส่วนจำกัด พัฒนาการเภสัช
3 1A 418/28 LEOPHEN บริษัท เจริญเภสัชแล็บ จำกัด
4 1A 640/28 PANTAZONE บริษัท พิคโก้ฟาร์มา จำกัด
5 1A 737/28 PHENTAZONE บริษัทโรงงานผลิตเวชภัณฑ์ ชินต้าเทรดดิ้ง (1971) จำกัด
6 1A 773/28 RUMAZONE บริษัทโรงงานเภสัชกรรม แหลมทองการแพทย์ จำกัด
7 1A 755/28 FOB-CIN ห้างหุ้นส่วนจำกัด พัฒนาการเภสัช
8 1A 953/28 PANTAZONE บริษัท พิคโก้ฟาร์มา จำกัด
9 1A 1054/28 NITROCIN CAPSULES FLYING CROCODILE ห้างหุ้นส่วนจำกัด พัฒนาการเภสัช
10 1A 1010/28 CHANETAZONE TABLETS ห้างหุ้นส่วนจำกัด พัฒนาการเภสัช
11 1A 1114/28 NITROCIN CAPSULES FLYING CROCODILE ห้างหุ้นส่วนจำกัด พัฒนาการเภสัช
12 1A 1333/28 RUMACAP บริษัท แอคดอน จำกัด
13 1A 1506/28 PANTAZONE บริษัท พิคโก้ฟาร์มา จำกัด
14 1A 1626/28 BUTA PEE DEE 84 บริษัท ไทย พี.ดี.เคมีคอล จำกัด
15 1A 1742/28 PHENYLBUTAZONE TABLETS บริษัท แมคโครฟาร์ จำกัด
16 1A 1819/28 PHENYBUTAZONE TABLETS บริษัท แมคโครฟาร์ จำกัด
17 1A 1820/28 PHENYBUTAZONE TABLETS บริษัท แมคโครฟาร์ จำกัด
18 1A 1880/28 BUTAZONE ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.เอส.พี.ลาบอราตอรี่
19 1A 1922/28 PHENYLBUTAZONE TABLETS บริษัท แมคโครฟาร์ จำกัด
20 1A 2044/28 NITROCIN TABLETS FLYING CROCODILE ห้างหุ้นส่วนจำกัด พัฒนาการเภสัช
21 1A 2125/28 BUTAZONE ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.เอส.พี.ลาบอราตอรี่
22 1A 2202/28 NITROCIN TABLETS FLYING CROCODILE ห้างหุ้นส่วนจำกัด พัฒนาการเภสัช
23 1A 2315/28 LORADEE บริษัท ไทย พี.ดี.เคมีคอล จำกัด
24 1A 2678/28 SUGRARINE ห้างหุ้นส่วนจำกัด จิวบราเดอร์ส
25 1A 2/29 PYRAZOLONE บริษัท ยูโทเปี้ยน จำกัด
26 1A 139/29 PHENBUTA CAP. บริษัท ไบร์วู๊ดฟาร์มาซูติคอล จำกัด
27 1A 476/29 PANTAZONE บริษัท พิคโก้ฟาร์มา จำกัด
28 1A 495/29 PYRAZOLONE TABLET บริษัท ยูโทเปี้ยน จำกัด
29 1A 1319/29 PHENYLBUTAZONE TABLETS บริษัท แอคดอน จำกัด
30 1A 2658/29 PHENYLBUTAZONE TABLETS ห้างหุ้นส่วนจำกัด พัฒนาการเภสัช
31 1A 541/30 BUTAPYRIN TABLETS บริษัท ฟาร์มาสันต์แล็บบอราตอรี่ส์ จำกัด
32 1A 910/30 PHENYL บริษัท เอเชี่ยนยูเนี่ยนแล็บบอราตอรี่ จำกัด
33 1A 1039/30 BUTAPYRIN TABLETS บริษัท ฟาร์มาสันต์แล็บบอราตอรี่ส์ จำกัด
34 1A 1505/30 PHENYLBUTAZONE บริษัท อินแพคฟาร์มา จำกัด
35 1A 1765/30 PHENAZONE บริษัทโรงงานผลิตเวชภัณฑ์ชินต้าเทรดดิ้ง(1971) จำกัด
36 1A 1829/30 PHENYLBUIAZONE TABLETS B.P. 1973 บริษัท แมคโครฟาร์ จำกัด
37 1A 1831/30 PHENYLBUTAZONE TABLETS B.P.1973 บริษัท แมคโครฟาร์ จำกัด
38 1A 1990/30 PHENAZONE บริษัทโรงงานผลิตเวชภัณฑ์ ชินต้าเทรดดิ้ง (1971) จำกัด
39 1A 1828/30 PHENYLBUTAZONE TABLETS B.P.1973 บริษัท แมคโครฟาร์ จำกัด
40 1A 2138/30 BUTAZONE-100 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.เอส.พี.ลาบอราตอรี่
41 1A 627/31 PREZORINE บริษัท วี.เอส.ฟาร์ม่า (1971) จำกัด
42 1A 918/32 PHENYLBUTAZ0NE WHITE ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงงาน เลิศสิงห์เภสัชกรรม
43 1A 522/33 PHENAZONE บริษัทโรงงานผลิตเวชภัณฑ์ ชินต้าเทรดดิ้ง(1971) จำกัด
44 1A 252/34 RUMATAB บริษัท แอคดอน จำกัด
45 1A 362/36 PHENBUTA CAP บริษัท ไบร์วู๊ดฟาร์มาซูติคอล จำกัด
46 1A 478/42 RUMAZONE TABLETS บริษัทโรงงานเภสัชกรรม แหลมทองการแพทย์ จำกัด
47 1A 65/43 PHENYLBUTAZONE บริษัท บุคคโลเทรดดิ้ง
48 1A 257/44 RUMATAB GREEN บริษัท แอคดอน จำกัด
49 1A 1111/44 PHENYLBUTAZONE บริษัท อินแพคฟาร์มา จำกัด
50 1A 62/46 PHENYLBUTAZONE TABLETS บริษัทเภสัชกรรม เค.บี. จำกัด
51 1A 218/46 PHENYLBUTAZONE TABLETS บริษัทเภสัชกรรม เค.บี. จำกัด
52 1A 350/46 K.B.TAZONE บริษัทเภสัชกรรม เค.บี. จำกัด
53 1A 138/55 BUMATIC TABLETS บริษัท โรงงานเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์เมดิคอล จำกัด
54 1A 280/55 BUMATIC บริษัท โรงงานเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์เมดิคอล จำกัด
55 1A 376/55 PHENBUTA WHITE 200 บริษัท ไบร์วู๊ดฟาร์มาซูติคอล จำกัด
56 1A 377/55 PHENBUTA ORANGE 200 บริษัท ไบร์วู๊ดฟาร์มาซูติคอล จำกัด
57 1A 378/55 PHENBUTA WHITE 100 บริษัท ไบร์วู๊ดฟาร์มาซูติคอล จำกัด
58 1A 379/55 PHENBUTA YELLOW 200 บริษัท ไบร์วู๊ดฟาร์มาซูติคอล จำกัด
59 1A 554/56 BUTACIN บริษัท ที.พี.ดรัก แลบบอราทอรี่ส์(1969)จ ากัด (สาขาพระราม 2)
60 1A 68/57 PHENYLBUTAZONE TABLETS(SUGAR COATED TABLET)บริษัท พาตาร์แลบ (2517) จำกัด
61 1A 180/58 DINOPHEN (CAPSULES) ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงงาน มิลาโน
62 1A 318/58 PHENYLBUTAZONE TABLETS บริษัท เอช.เค.ฟาร์มาซูติคอล จำกัด
63 1A 329/58 PHENYLBUTAZONE TABLETS บริษัท เอช.เค.ฟาร์มาซูติคอล จำกัด
64 1A 345/58 PHENYLBUTAZONE บริษัท บุคคโล เทรดดิ้ง จำกัด
65 1A 372/58 PHENYLBUTAZONE TABLETS บริษัท เอช.เค.ฟาร์มาซูติคอล จำกัด
66 1A 373/58 PHENYLBUTAZONE TABLETS บริษัท เอช.เค.ฟาร์มาซูติคอล จำกัด
67 1A 374/58 PHENSONIL TABLETS บริษัท เอช.เค.ฟาร์มาซูติคอล จำกัด
68 1A 383/58 PHENYLBUTAZONE TABLETS บริษัท เอช.เค.ฟาร์มาซูติคอล จำกัด
69 1A 384/58 PHENSONIL TABLETS บริษัท เอช.เค.ฟาร์มาซูติคอล จำกัด
70 1A 405/58 PHENYLBUTAZONE TABLETS บริษัท เอช.เค.ฟาร์มาซูติคอล จำกัด

ต้นฉบับข่าว : กรุงเทพธุรกิจ : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/781234


คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1435/2560 เรื่องเพิกถอนทะเบียนตำรับยา