May 2017 — Tudsinjai.com : Blog area : แหล่งรู้คู่การตัดสินใจ


สีห้อมหรือสีครามสังเคราะห์

สีห้อมหรือสีครามสังเคราะห์ มีชื่อทั่วไปว่า Indigo blue หรือ Indigo tin ลักษณะเป็นผลึกรูปเข็มสีม่วงหรือสีน้ำเงิน ระเหิดที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส มีคุณสมบัติไม่ละลายในน้ำ แอลกอฮอล์ อีเธอร์และกรดเจือจาง แต่ละลายดีมากในสารละลายอะนีลีนและพีรีดีน ถ้าละลายในตัวละลายไม่มีขั้วจะปรากฏสีม่วงแต่ถ้าละลายในตัวละลายมีขั้วและเกิดเป็นสีน้ำเงิน ถ้าทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกเย็นจะเกิดกรด disulponic ซึ่งทำให้อยู่ในรูปเกลือได้ง่าย เรียกว่า Indigo caramine สีน้ำเงินเข้มใช้ย้อม จัดเป็นสีแอซิด (Acid dye) มีกระบวนการย้อมต่างจากการย้อมหม้อห้อมหรือคราม ซึ่งเป็นสีแวต (อัจฉราพร ไสละสูตร)

Indigo Blue ถูกรีดิวส์ในสารละลายด่างกลายเป็นสารไม่มีสีเรียกว่า Indigo white มีค่าการดูดซึมแสงสูงสุดที่มีความยาวคลื่น 405 นาโนเมตร (ไพศาล คงคาฉุนฉายและคณะ) ตัวดิวส์และด่างมีหลายคู่ได้แก่ ไฮโดรซัลไฟร์กับโวเดียมไฮร์ดรอกไซต์ (Na2s204/NaoH) Indigo white ถูกออกซิเจนไดร์ได้ง่ายมากด้วยออกซิเจนในอากาศและกลับไปเป็น Indigo blue

สีหม้อห้อมหรือสีคราม เป็นสีที่เก่าแก่มาก สกัดได้จากใบของพืชแต่ทำให้สีบริสุทธิ์ได้ยาก เมื่อนำไปย้อมผ้าทำให้ได้สีไม่คงที่จึงยากต่อการผลิตผ้าหม้อห้อมในระดับอุตสาหกรรมได้ ในที่สุดมนุษย์ก็ได้สังเคราะห์สีหม้อห้อมหรือสีครามในเชิงอุตสาหกรรมขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด

การย้อมสีสังเคราะห์

สีสังเคราะห์ตอบโจทย์งานในระดับอุตสาหกรรม มีความคงทนกว่าสีธรรมชาติ หาซื้อง่าย และสามารถย้อมได้ครั้งละจำนวนมากตามความต้องการของลูกค้าได้ โดยมีขั้นตอนการย้อมแบบง่ายๆดังนี้

  1. นำผ้าที่จะใช้ย้อมหรือตัดสำเร็จรูปแล้ว (ต้องใช้ด้ายที่เป็นผ้าฝ้ายเท่านั้น) แช่น้ำประมาณ 2-3 วัน เพื่อล้างไขมันหรือสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากผ้าก่อน
  2. จากนั้นนำผ้าลงย้อมในหม้อน้ำสีคราม 4-5 ครั้ง แล้วนำไปตากแดดที่ไม่ร้อนจัด เพราะถ้าโดนแดดร้อนมากๆผ้าจะด่าง อากาศหน้าหนาวจะย้อมผ้าได้ดีเพราะแดดไม่แรงเหมือนหน้าร้อน
  3. ขั้นตอนสุดท้าย นำผ้าที่ย้อมสีครามแล้วลงต้มในหม้อที่ผสมสีสังเคราะห์ในน้ำเดือดประมาณ 10-15 นาที ต้องคอยพลิกผ้าที่ย้อมอยู่ตลอดเพื่อไม่ให้สีตกตะกอน จากนั้นนำไปตากให้แห้งเพื่อรอการลงแป้ง และรีดให้เรียบ


ภาพการย้อมด้วยครามเคมี จากวิทยากรจังหวัดแพร่
อบรมให้กลุ่มคลัสเตอร์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุทัยธานี



ครามเคมี
ครามเคมี


สารครามเริ่มเป็นสีเหลือง แสดงว่าพร้อมสำหรับการย้อมแล้ว
สารครามเริ่มเป็นสีเหลือง แสดงว่าพร้อมสำหรับการย้อมแล้ว


สารครามเริ่มเป็นสีเหลือง แสดงว่าพร้อมสำหรับการย้อมแล้ว
สารครามเริ่มเป็นสีเหลือง แสดงว่าพร้อมสำหรับการย้อมแล้ว


ล้างเส้นฝ้ายให้สะอาด
ล้างเส้นฝ้ายให้สะอาด


ตากหมาดๆ ให้สะเด็ดน้ำ
ตากหมาดๆ ให้สะเด็ดน้ำ


สาวบ้านไร่ทำการย้อม โดยจุ่มเส้นฝ้ายให้มิดจนแน่ใจว่าสีครามติดเส้นฝ้ายทั้งหมด จึงนำขึ้น
สาวบ้านไร่ทำการย้อม โดยจุ่มเส้นฝ้ายให้มิดจนแน่ใจว่าสีครามติดเส้นฝ้ายทั้งหมด จึงนำขึ้น


ทำการย้อม โดยจุ่มเส้นฝ้ายให้มิดจนแน่ใจว่าสีครามติดเส้นฝ้ายทั้งหมด จึงนำขึ้น
ทำการย้อม โดยจุ่มเส้นฝ้ายให้มิดจนแน่ใจว่าสีครามติดเส้นฝ้ายทั้งหมด จึงนำขึ้น


สารครามเริ่มทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จากสีเหลืองจะเริ่มเป็นสีคราม
สารครามเริ่มทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จากสีเหลืองจะเริ่มเป็นสีคราม


สารครามเริ่มทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จากสีเหลืองจะเริ่มเป็นสีคราม
สารครามเริ่มทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จากสีเหลืองจะเริ่มเป็นสีคราม


เส้นฝ้ายเริ่มเป็นสีคราม
เส้นฝ้ายเริ่มเป็นสีคราม



แหล่งที่มาของข้อมูล
"มหัศจรรย์หท้อห้อม ภูมิปัญญา เมืองแพร่" จังหวัดแพร่, สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่, วิทยาลัยชุมชนแพร่, คลัสเตอร์หม้อห้อมแพร่

ภาพประกอบจาก
กลุ่มคลัสเตอร์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุทัยธานี, เครดิตผู้ย้อม คุณตุ๊ก หวีวัน


การย้อมผ้าหม้อห้อมด้วยสีธรรมชาติ

ใบของต้นห้อมและต้นคราม จะมีสารที่เรียกว่า อินดิแคน (Indican) ซึ่งสามารถละลายน้ำได้แต่ไม่มีสี อินดิแคนเมื่อทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนจะเกิดเป็นกลูโคสและสารอินโดซิล (Indoxyl) เมื่ออินโดซิลรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนในอากาศจะเกิดเป็นสารคราม (Indigo) ในที่นี้จะเรียกว่า ห้อมเปียก หรือ ครามเปียก

สารครามจะถูกรีดิวส์ให้เป็น ลิวโดอินดิโก้ (Leucoindigo หรือ White Indigo) ซึ่งมีสีเหลืองและละลายน้ำได้

สารคราม (Indigo) มีคุณสมบัติไม่ละลายในน้ำแต่จะละลายได้ดีในด่าง ดังนั้นในการก่อหม้อสำหรับย้อมห้อม/คราม จึงต้องมีการปรับสภาวะในหม้อให้สมดุล เช่น ความเป็นกรดเป็นด่าง อุณหภูมิ และปริมาณสารครามในสภาวะที่เหมาะสม สารครามจะถูกรีดิวส์ให้เป็น ลิวโดอินดิโก้ (Leucoindigo หรือ White Indigo) ซึ่งมีสีเหลืองและละลายน้ำได้ โดยลิวโคอินดิโก้จะถูกดูดซับและติดที่เส้นใยผ้า เมื่อลิวโคอินดิโก้ที่ถูกดูดซับติดกับเส้นใยผ้านั้นสัมผัสกับกาอาศก็จะรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศกลายเป็นสีน้ำเงินติดที่เส้นใยผ้า

การย้อมสีครามธรรมชาติ จำทำการย้อมวันละ 2 ครั้งเท่านั้น คือ ตอนเช้าและตอนเย็น

ในการย้อมสีครามธรรมชาติ จำทำการย้อมวันละ 2 ครั้งเท่านั้น คือ ตอนเช้าและตอนเย็น ทั้งนี้ก็เพื่อให้สารครามที่มีอยู่ในน้ำย้อมนั้นเปลี่ยนเป็นลิวโคอินดิโก้ให้มีปริมาณมากพอที่จะย้อมผ้าหรือฝ้ายในครั้งต่อไปได้ โดยระยะเวลาในการย้อมแต่ละครั้งจะต้องห่างกันประมาณ 6-8 ชั่วโมง ซึ่งความเข้มของสีครามบนผ้าหรือฝ้ายจะขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่นำผ้าหรือฝ้ายไปย้อม

ระยะเวลาในการย้อมแต่ละครั้งจะต้องห่างกันประมาณ 6-8 ชั่วโมง


แหล่งที่มาของข้อมูล
"มหัศจรรย์หท้อห้อม ภูมิปัญญา เมืองแพร่" จังหวัดแพร่, สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่, วิทยาลัยชุมชนแพร่, คลัสเตอร์หม้อห้อมแพร่

ภาพประกอบจาก
กลุ่มคลัสเตอร์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุทัยธานี


ห้อมเปียก

การย้อมผ้าหม้อห้อมแบบดั้งเดิมคือการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ ฉะนั้นต้องนำต้นห้อมมาสกัดสีเสียก่อน

การสกัดสีจากต้นห้อมเป็นภูมิปัญญาในการนำสารอินดิแครน (Indican) ที่มีในต้นห้อมออกมาใช้ทำสีย้อมผ้า เมื่อต้นห้อมเหมาะแก่การเก็บเกี่ยวจะถูกนำมาแปรรูปด้วยการแช่น้ำจนเน่าเปื่อยแล้วตีกับปูนขาว เพื่อให้ได้สสารข้นเป็นโคลนสีครามเรียกว่า "ห้อมเปียก" (Indigo Paste) หรือ "เปอะ" ในภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ

ห้อมเปียกเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับทำน้ำย้อมผ้า จะถูกเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดซึ่งสามารถเก็บไว้ใช้ได้หลายปี

ห้อมเปียก

ปูนขาวแช่น้ำสำหรับใช้ตีกับน้ำห้อม

ปูนขาวแช่น้ำสำหรับใช้ตีกับน้ำห้อม


วิธีทำห้อมเปียก (Indigo Paste)

วัตถุดิบสำหรับทำห้อมเปียก

  1. ห้อม (ใช้ส่วนใบและก้าน) 1 กิโลกรัม
  2. น้ำสะอาด 10 ลิตร
  3. ปูนขาว 120 กรัม

ขั้นตอนการทำห้อมเปียก

  1. ตัดส่วนยอดและใบห้อมในตอนเช้าจะได้เนื้อห้อมมากและคุณภาพดี (ช่วงเช้าไม่เกิดแปดโมงและช่วงเย็นหลังสี่โมงเป็นเวลาที่ใบห้อมจะสดและให้สีมาก)
  2. ล้างใบห้อมด้วยน้ำสะอาด มัดเป็นกำวางลงในภาชนะ เติมน้ำสะอาด นำวัสดุที่มีน้ำหนักวางกดใบห้อมให้จมน้ำ แช่ใบห้อมให้เน่าเปื่อยเป็นเวลา 24-72 ชั่วโมง
  3. แยกใบห้อมที่ไม่เน่าเปื่อยทิ้งจนเหลือแต่น้ำห้อม
  4. เติมปูนขาว 120 กรัม ต่อน้ำห้อม 10 ลิตร ใช้ชะลอมซวก (ตีขึ้น-ลง) จนเกิดฟองสีน้ำเงิน ซวกจนกระทั่งฟองแตกตัวและยุบตัวลงไป ทิ้งไว้ 1 คืนให้ตกตะกอน
  5. เทน้ำสีเหลืองที่อยู่ด้านบนเนื้อห้อมทิ้งให้เหลือแต่ตะกอนที่อยู่ก้นหม้อ กรองตะกอนด้วยผ้าฝ้าย จะได้ห้อมเปียกลักษณะเหมือนครีม ไม่แห้งและเหลวเกินไป เก็บห้อมเปียกในภาชนะที่มีฝาปิดสนิทเพื่อนำไปใช้ก่อหม้อย้อมผ้าต่อไป

วิธีทำห้อมเปียก (Indigo Paste)

บรรณานุกรม
นุชนาฏ ชาวปลายนา, จอมขวัญ เวียงเงิน. (2559). วิถี+วิธี หม้อห้อมเมืองแพร่. วิทยาลัยชุมชน, แพร่.




แหล่งปลูกต้นห้อม : ต้นห้อมกับป่าที่นาตอง


ต้นห้อมกับป่าที่นาตอง

สูงขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลปานกลางกว่าแปดร้อยเมตรบนแนวภูเขาฝั่งตะวันออกของจังหวัดแพร่ คือ บ้านนาตอง บ้านอีกหลังของต้นห้อม

นาตองเป็นหมู่บ้านเล็กๆบนภูเขาสูง อยู่ในเขตตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง มีห้วยแม่ก๋อนไหลผ่าน ฤดูฝน-ฝนตกชุก ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ส่วนฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 24 องศาเซลเซียส ดังนั้นที่นี่จึงมีปัจจัยที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นห้อมได้ดี คือมีดินชุ่มชื้นและมีอากาศเย็น

ต้นห้อม ที่นาตอง

ต้นห้อมที่นาตองอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่โดยปลูกไว้ภายใต้ร่มเงา (Shade Tree) ซึ่งตามธรรมชาติของป่าพืชทั้งต้นเล็กต้นใหญ่จะอาศัยเกื้อกูลกันและกัน ต้นไม้เล็กๆจะได้ปุ๋ยและแร่ธาตุจากต้นไม้ใหญ่ ต้นไม้ใหญ่อาศัยต้นไม้เล็กคลุมหน้าดินเพื่อเก็บกักความชุ่มชื้น

ชาวนาตองจะปลูกต้นห้อมในที่ทำกินของตนเอง ปลูกแซมกับต้นไม้ในสวนปลูกไว้ปลายไร่ปลายนา เพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่ได้อย่างมีประโยชน์ การปลูกห้อมใต้ร่มเงาทำให้ต้นห้อมสวยงามและมีระยะเวลาการให้ผลผลิตที่ยาวนานกว่า เนื่องจากไม้บังร่มจะช่วยลดความเข้มข้นแสง มีความชื้นสูงจากการทับถมของใบไม้ที่ร่วงหล่นกลายเป็นปุ๋ยให้ทั้งต้นห้อมและต้นไม้ใหญ่ แถมยังช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน

นอกจากนี้การปลูกต้นห้อมภายใต้ร่มเงายังเป็นการลดปัญหาการแผ้วถางพื้นที่ป่า อีกทั้งชาวบ้านจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจึงนำไปสู่การทำเกษตรร่วมกับการอนุรักษ์ผืนป่าได้อย่างยั่งยืน การปลูกห้อมแซมกับป่าช่วยสร้างความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ เป็นระบบนิเวศที่ทุกส่วนต่างเกื้อกูลกัน ห้อมอยู่กับป่าได้และชาวบ้านก็ได้ประโยชน์จากป่าด้วย

ชาวบ้านนาตองได้จัดตั้ง ?กลุ่มผลิตน้ำย้อมผ้าจากต้นห้อม? เพื่อแปรรูปห้อมสดเป็นห้อมเปียกสำหรับจำหน่ายแก่ผู้ประกอบการผ้าหม้อห้อมธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีการขยายพื้นที่ปลูกห้อมโดยการสร้างเครือข่ายกลุ่มปลูกห้อมเพื่อเพิ่มที่ปลูกให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตห้อมเปียกให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอนาคต

แปลงเพาะ ต้นห้อม


บรรณานุกรม
นุชนาฏ ชาวปลายนา, จอมขวัญ เวียงเงิน. (2559). วิถี+วิธี หม้อห้อมเมืองแพร่. วิทยาลัยชุมชน, แพร่.


แหล่งปลูกต้นห้อม : วิธีทำห้อมเปียก (Indigo Paste)


วัดพระธาตุดอยน้อย

จากตำนานที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบต่อกันมาว่าเมื่อครั้งในสมัยพุทธกาลนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์สำเร็จพระอรหันต์ (ตรัสรู้) แล้ว พระองค์พร้อมด้วยพระอรหันต์ จำนวน 500 รูป ได้เสด็จมาที่เขาดอยน้อย (วัดพระธาตุดอยน้อยในปัจจุบัน) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของบ้านปิน ประมาณ 1 กิโลเมตร ได้แสดงพระธรรมเทศนาโปรดราษฎร และมีหญิงหม้ายคนหนึ่งเกิดความเลื่อมใสศรัทธาขึ้น จึงได้ถอดปิ่นทองซึ่งปักที่มวยผม ถวายแด่พระพุทธองค์เพื่อเป็นพุทธบูชา

หลวงพ่อพุทธปิ่นทองนาคราช
หลวงพ่อพุทธปิ่นทองนาคราช

วิวตัวเมือง
อำเภอลอง จังหวัดแพร่

วิวตัวเมือง
อำเภอลอง จังหวัดแพร่

วิวตัวเมือง
อำเภอลอง จังหวัดแพร่

หลวงพ่อพุทธปิ่นทองนาคราช กำลังก่อสร้าง หันหน้าไปทางตัวเมือง
หลวงพ่อพุทธปิ่นทองนาคราช

หลวงพ่อพุทธปิ่นทองนาคราช กำลังก่อสร้าง หันหน้าไปทางตัวเมือง
หลวงพ่อพุทธปิ่นทองนาคราช

หลวงพ่อพุทธปิ่นทองนาคราช กำลังก่อสร้าง
หลวงพ่อพุทธปิ่นทองนาคราช

กระทงพิธีสะเดาะเคราะห์
กระทง สะเดาะเคราะห์

ระฆังน้อยๆ
ระฆัง วัดพระธาตุดอยน้อย

พระธาตุดอยน้อย
พระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

เทพรอบๆพระธาตุดอยน้อย
พระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ลุงสุภาพ กำลังทำพิธีสะเดาะเคราะห์
กระทง สะเดาะเคราะห์

กระทงพิธีสะเดาะเคราะห์
กระทง สะเดาะเคราะห์

พระธาตุดอยน้อย และวิวสวยๆ
พระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระธาตุดอยน้อย
พระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ลุงสุภาพ กำลังทำพิธีสะเดาะเคราะห์
กระทง สะเดาะเคราะห์

พระธาตุดอยน้อย
พระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระเจ้าเชียงแสน
พระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระธาตุ ณ ฐานเจดีย์ระบุว่า 2476
พระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

วิวด้านบน มองออกไปยังตัวเมืองอำเภอลอง เห็นถนนเข้าสู่อำเภอ
พระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

วิวด้านบน มองออกไปยังตัวเมืองอำเภอลอง
พระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ระฆังราว มีให้เห็นเกือบทุกวัด ในวัดบนดอย
พระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ทางเดินขึ้นไปยังพระธาตุด้านบน
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

สิ้นสุดถนนไม่มีทางไปแล้ว ไม่หลงแน่ๆ
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

เส้นทางสุดท้าย ที่มาถึง
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

จุดทางเดิน ที่ขึ้นมาจากอีกฝากหนึ่ง
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

มาถึงทางเข้าอีกทางหนึ่ง ทางค่อนข้างชัน แต่ไอ้อ้วนพาเรามาถึงได้สบายๆ
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ทางลง กำลังจะขับรถไปขึ้นอีกทางหนึ่ง ห่างจากจุดนี้ประมาณ 5 กิโล
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระพุทธรูป/เทวรูป ต่างๆ กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จเลย (16.05.2560)
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

เดินวนรอบๆบริเวณ
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระพุทธรูป/เทวรูป ต่างๆ กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จเลย (16.05.2560)
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระพุทธรูป/เทวรูป ต่างๆ กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จเลย (16.05.2560)
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระพุทธรูป/เทวรูป ต่างๆ กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จเลย (16.05.2560)
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระพุทธรูป/เทวรูป ต่างๆ กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จเลย (16.05.2560)
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระพุทธรูป/เทวรูป ต่างๆ กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จเลย (16.05.2560)
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระพุทธรูป/เทวรูป ต่างๆ กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จเลย (16.05.2560)
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

เดินวนรอบๆบริเวณ
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระพุทธรูป/เทวรูป ต่างๆ กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จเลย (16.05.2560)
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

เดินขึ้นไปอีก
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระพุทธรูป/เทวรูป ต่างๆ กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จเลย (16.05.2560)
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

เดินไปเรื่อยๆ
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระพุทธรูป/เทวรูป ต่างๆ กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จเลย (16.05.2560)
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระพุทธรูป/เทวรูป ต่างๆ กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จเลย (16.05.2560)
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

เดินขึ้นไปเรื่อยๆ
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

พระพุทธรูป/เทวรูป ต่างๆ กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จเลย (16.05.2560)
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ไอ้อ้วนดำพาขึ้นมา
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ทางขึ้นด้านนี้ ต้องเดินขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงบนสุด จะเจอพระธาตุ
วัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอลอง จังหวัดแพร่


แหล่งปลูกต้นห้อม

ต้นห้อม เป็นพืชที่ให้สารสีครามที่นำมาย้อมผ้าได้ ห้อมชอบอยู่ในที่ร่มเย็น มีน้ำชุ่มชื้นตลอดเวลา มีแดดรำไร ใบห้อมสามารถเก็บมาใช้ทำสีครามได้ตั้งแต่อายุ 6-8 เดือน และเก็บได้อย่างต่อเนื่องเมื่อย่างเข้าปีที่ 2 ระยะของการเก็บไม่แน่นอนแล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละท้องที่ ถ้าต้นใหญ่สามารถนำทั้งกิ่งและใบมาใช้ได้ ส่วนต้นเล็กใช้ใบเป็นหลัก ห้อมที่อยู่บริเวณที่เหมาะสมจะมีอายุยาวนานถึง 8 ปี

ห้อมในจังหวัดแพร่ พบการปลูกที่บ้านนาคูหา ตำบลสวนเขื่อน และบ้านนาตอง ตำบลช่อแฮ ซึ่งเป็นพื้นที่มีความชุ่มเย็นตลอดปี มีลำห้วยไหลผ่าน

ต้นห้อม ที่นาคูหา


บ้านนาคูหา

บ้านนาคูหาเป็นหมู่บ้านในหุบเขาฝั่งตะวันตกของจังหวัดแพร่ ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง มีสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการมาเยือนถึงหมูบ้านแล้วคือพระธาตุอินแขวน องค์พระธาตุจำลองตั้งอยู่บนยอดดอยที่มีต้นไม้เขียวขจี เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาโพธิวงศาจริยาราม พุทธอุทยานดอยผาสวรรค์ เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9 ที่นี่มีอุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส อากาศเย็นตลอดทั้งปีและเป็นแหล่งโอโซนชั้นดีที่ได้รับการวิจัยว่ามีโอโซนติดอันดับ 7 ของประเทศ มีลำห้วยแม่แคมไหลผ่านให้ความชุ่มชื้น บ้านนาคูหาตั้งอยู่บนหุบเขาสูงมีเส้นทางเข้าออกหมู่บ้านเพียงเส้นเดียวเป็นถนนเล็กๆ แต่ลาดยางมะตอยอย่างดีจึงสะดวกต่อการเดินทาง อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่เพียง 20 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นทำให้อากาศเย็นสบายตลอด

พระธาตุอินแขวน


บ้านนาคูหายังเป็นแหล่ง ?เตา? หรือสาหร่ายน้ำจืดที่ขึ้นชื่อเรื่องความสะอาดปลอดภัยเพราะเตาจะเจริญเติบโตตามธรรมชาติในแหล่งน้ำใสสะอาดเท่านั้น ด้วยปัจจัยที่เอื้ออำนวยเช่นนี้ ?ต้นห้อม? จึงปลูกที่นี่ได้


เตา หรือ สาหร่ายน้ำจืด ที่ บ้านนาคูหา

เตา หรือ สาหร่ายน้ำจืด ที่ บ้านนาคูหา

กล้าต้นห้อม ที่นาคูหา


ในอดีตราว 30 ปีที่ผ่านมาชาวบ้านนาคูหาผลิตผ้าหม้อห้อมใช้เอง มีการปลูกฝ้ายพันธุ์พื้นเมืองควบคู่กับการใช้ต้นห้อมที่ขึ้นตามธรรมชาติเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต

ต่อมาจนถึงปัจจุบันชาวบ้านยังปลูกและผลิตเส้นฝ้ายโดยใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมส่งขายให้แก่ผู้ประกอบการผ้าหม้อห้อมย้อมธรรมชาติ แม้ว่าจะไม่ได้ทอผ้าและย้อมผ้าหม้อห้อมใช้เองแล้วในปัจจุบัน แต่ยังคงปลูกห้อมพันธุ์พื้นเมืองในเล็กตามท้องสวนจำนวนเล็กน้อยเพื่อใช้เป็นยารักษาอาการไข้สูง

ด้วยสภาพพื้นที่ชุ่มชื้นตลอดทั้งปีเหมาะสำหรับการปลูกห้อม จึงเกิดการฟื้นฟูการปลูกห้อมและแปรรูปห้อมเปียกขึ้นที่นี่ เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มเติมนอกเหนือจากการปลูกพืชตามฤดูกาล

สว่าง สีตื้อ ผู้ปลูกห้อมและทำห้อมเปียก

ภาพ : be smart จากกระทู้ /topic/35986791


บรรณานุกรม
นุชนาฏ ชาวปลายนา, จอมขวัญ เวียงเงิน. (2559). วิถี+วิธี หม้อห้อมเมืองแพร่. วิทยาลัยชุมชน, แพร่.


ต้นห้อมกับป่าที่นาตอง : วิธีทำห้อมเปียก (Indigo Paste)


Nui Panna June 3, 2017
BNK48 Digital Studio Live ตู้ปลาครั้งแรก
BNK48 Digital Studio Live ตู้ปลาครั้งแรก
สมาชิกทั้ง 29 คน
สมาชิกทั้ง 29 คน

วันที่ 3 มิถุนายน 2560 เปิดตัว BNK48 Digital Studio เป็นวันแรก ในวันนั้นสมาชิกทั้ง 29 ไลฟ์พร้อมกัน โดย Digital Studio หรือตู้ปลาตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ชั้น 1 โซน C (หน้า Q stadium) มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเวลา 13:00 น. และเริ่ม LIVE อย่างเป็นทางการครั้งแรกเวลา 14:00 น. ซึ่งก่อนหน้านั้นวงพี่ AKB48 Team 8 ก็มาเยือนตู้ปลาแห่งนี้แล้ว

>>> คลิปย้อนหลัง BNK48 Digital Studio วันแรก <<<


สมาชิก AKB48 Team 8 ที่มาเยี่ยมชม Digital Studio เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2560
สมาชิก AKB48 Team 8 ที่มาเยี่ยมชม Digital Studio เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2560


BNK48 Digital Studio เป็นดิจิตอลไลฟ์สตูดิโอ มีลักษณเป็นตู้กระจกใส เป็นพื้นที่ให้สมาชิกในวงผลัดกันมาจัดรายการตามธีมในแต่ละวัน เหล่าโอตะสามารถเลือกได้ว่าจะเดินทางมารับชมที่ดิ เอ็มควอเทียร์ หรือชมสด/ย้อนหลังผ่านทาง Facebook BNK48official ได้เช่นเดียวกัน


ตารางการปรากฎตัวของสมาชิก BNK48 ที่ Digital Studio วันที่ 5 มิถุนายน ถึง 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ตารางการปรากฎตัวของสมาชิก BNK48 ที่ Digital Studio วันที่ 5 มิถุนายน ถึง 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560


Nui Panna June 2, 2017

BNK48 The Debut วักแรกอย่างเป็นทางการ ของหลายๆเหตุการณ์

  • Debut Single ของวง Aitakatta - อยากจะได้พบเธอ พร้อมอีก 2 เพลง Oogoe Diamond - ก็ชอบให้รู้ว่าชอบ, 365 nichi no kami hikouki - 365 วันกับเครื่องบินกระดาษ
  • การประกาศเซ็มบัทสึ 16 ตัวจริง
  • ประกาศตำแหน่งกัปตัน คือ เฌอปราง
  • เซ็นเตอร์ของซิงเกิ้ล Aitakatta - อยากจะได้พบเธอ และ Oogoe Diamond - ก็ชอบให้รู้ว่าชอบ คือมิวสิค
  • เซ็นเตอร์ของเพลงรอง 365 nichi no kami hikouki - 365 วันกับเครื่องบินกระดาษ คือ เจนนิษฐ์
  • เปิดตัวสมาชิดคนที่ 30 ของวง "อิสึตะ รินะ" ที่ย้ายมาจากวงพี่ AKB48 {2 กรกฎาคม 2017 อิซึตะ รินะ มาถึงประเทศไทยในฐานะ อิซึรินะแห่ง BNK48}

เซ็มบัตสึ 16 คนแรกของ BNK48
1.แก้ว – ณัฐรุจา ชุติวรรณโสภณ
2.ไข่มุก – วรัทยา ดีสมเลิศ
3.แคนแคน – นายิกา ศรีเนียน
4. น้ำหนึ่ง – มิลิน ดอกเทียน
5. ซัทจัง – สวิชญา ขจรรุ่งศิลป์
6. มิโอริ – มิโอริ โอคุโบะ
7. จ๋า – ณปภัช วรพฤทธานนท์
8. เนย – กานต์ธีรา วัชรทัศนกุล
9. แจน – เจตสุภา เครือแตง
10. ปัญ – ปัญสิกรณ์ ติยะกร
11. น้ำหอม – คริสติน ลาร์เซ่น
12. ตาหวาน – อิสราภา ธวัชภักดี
13. อร – พัศชนันท์ เจียจิรโชติ
14. เฌอปราง – เฌอปราง อารีย์กุล
15. เจนนิษฐ์ – เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ
16. มิวสิค – แพรวา สุธรรมพงษ์

ในวันงานยังมีประกาศเซอร์ไพรส์อีกคือ มิโอริ,ซัทจัง และแก้ว ได้รับเลือกเดินทางไปรวมงานเลือกตั้ง AKB48 ซิงเกิ้ลที่ 49 ที่จังหวัดโอกินาว่า ณ ประเทศญี่ปุ่น

การประกาศเชิญชวนของ Official

" BNK48 The Debut " วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2560 วันที่ทุกคนจะได้พบ BNK48 กับการแสดงอย่างเป็นทาง
สถานที่ : ณ Quartier Gallery ชั้น M ศูนย์การค้า EmQuartier
- เวลา 13:00 น. – 16:00 น. เริ่มจำหน่ายสินค้า (รายละเอียดของสินค้าจะแจ้งให้ทราบเร็วๆนี้)
- เวลา 17:30 น. เปิดเข้างาน
- เวลา 18:30 น. เริ่มการแสดง

BNK48 The Debut การแสดงครั้งแรก
BNK48 The Debut การแสดงครั้งแรก
เครดิรภาพ: BNK48