คู่มือการบวช
คู่มือการบวช
โดย
นางนฤดี น้อยศิริ ตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
กลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดย
นางนฤดี น้อยศิริ ตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
กลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พาราเซตามอลเป็นยาบรรเทาปวด ลดไข้ ที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป เป็นยาที่สามารถทำให้เกิดอันตรายง่ายหากรับยาเกินขนาด หรือการใช้ยาพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น ดังนั้นจึงควรใช้ยาเท่าที่จำเป็น รวมถึงตรวจสอบว่ายาตัวอื่นที่รับประทานร่วมด้วยมีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบหรือไม่ หากมีก็ควรหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาเภสัชในร้านยาใกล้บ้านท่านเพื่อขอรับคำแนะนำก่อนใช้ยา
ยาแก้ปวด ลดไข้ พาราเซตามอล (Paracetamol) หรือ อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) นั้น ในประเทศไทยได้ถูกบรรจุให้เป็นยาในบัญชีหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2556 และฉบับอื่นๆที่เคยประกาศมาแล้วในอดีต รวมถึงถูกจัดให้เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ประชาชนสามารถซื้อได้ทั่วไป เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น แต่สิ่งที่ควรตระหนักและให้ความสำคัญอย่างมากคือ การใช้ยาบ่อยและพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น หรือการใช้ยาที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบมากกว่า 1 รายการ ในการรับประทานยาครั้งเดียวกันจะส่งผลทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
พารา-อะเซทิลอะมิโนฟีนอล (Para-acetylaminophenol) เป็นชื่อทางเคมีของยา "พาราเซตามอล (Para-acetylaminophenol ย่อเป็น Paracetamol)" ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกโดยทั่วไป แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น จะนิยมเรียกว่า "อะเซตามิโนเฟน (Para-acetylaminophenol = acetaminophen)"
ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการรวบรวมสถิติของการเกิดพิษจากยาอะเซตามิโนเฟน(พาราเซตามอล) พบว่ามีแนวโน้มที่สูงขึ้นโดยเฉลี่ยต่อปีจะมีผู้เสียชีวิตประมาณ 458 คน ทั้งนี้สาเหตุมักเกิดจากการใช้ยาที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบมากกว่า 1 รายการ ในการรับประทานยาครั้งเดียว ตัวอย่างที่มักจะมีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบเช่น ยาบรรเทาอาการปวด/ลดไข้ ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดอักเสบของกล้ามเนื้อ/ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาที่ใช้รักษาอาการหวัด/ภูมิแพ้บางชนิด เป็นต้น
อาการพิษจากการได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาดจะไม่ได้ส่งผลในทันทีที่ได้รับยาเกินขนาด แต่ความเป็นพิษจะค่อยๆเกิดขึ้นช้าๆจนส่งผลให้เกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน (Acute hepatic failure) กรณีที่ได้รับยาในขนาดที่ทำให้เสียชีวิตได้ ก็จะยังคงไม่เสียชีวิตในทันทีทันใดเช่นกัน แต่จะค่อยๆเกิดการทำลายของตับอย่างช้าๆและเสียชีวิตลงประมาณ 3-5 วัน
การได้รับยาแก้แก้พิษ (Antidone) เพื่อช่วยชีวิตให้เร็วที่สุดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ยาแก้พิษจากยาพาราเซตามอล คือ เอ็น-อะเซทิลซีสเทอีน (N-acetylcystein : NAC) โดยสารตัวนี้จะไปช่วยร่างกายในการสร้างสารที่จะมายับยั้งการทำลายตับจากพิษของยาพาราเซตามอล ซึ่งสารตัวนี้โดยปกติจะสร้างได้จากตับในปริมาณที่จำกัด จึงเป็นเหตุผลที่มาของการจำกัดปริมาณของยาพาราเซตามอลที่ได้รับต่อวันไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัม หรือหากเทียบเป็นยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ดก็จะเท่ากับ 8 เม็ดเท่านั้น
แต่ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ใช้ยาเป็นโรคตับหรือเป็นผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำขนาดรับประทานสูงสุดต่อวันก็จะลดน้อยลงกว่านี้อีก เพราะร่างกายจะสร้างสารที่ต้านพิษจากยาพาราเซตามอลนี้ได้น้อยลง
ขนาดของยาพาราเซตามอลชนิดรับประทานคือ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นขนาดของยาพาราเซตามอลในผู้มีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม คือ 500-700 มิลลิกรัม หากเทียบกับยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด ก็จะเท่ากับหนึ่งเม็ดถึงหนึ่งเม็ดครึ่งเท่านั้น
ข้อมูลจาก: อย.Report ปีที่ 5 ฉบับที่ 56 ประจำเดือนพฤษภาคม 2557
ภาพประกอบค้นหาจาก google