ชื่อ : มะพูด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz
ชื่อวงศ์ : GUTTIFERAE
ชื่อพื้นเมือง : ประหูด, ประโหด (เขมร)
ชื่อสามัญ : Ma phut ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15 เมตร ใบเรียบ ผิวมัน สีเขียวเข้ม รูปใบเป็นรูปหอก ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ ก้านสั้น กลีบดอกเป็นทรงกลมหนา สีเหลืองอมเขียว ผลกลมเรียบ ผิวมัน สีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลือง ข้างในมีเมล็ด 2-5 เมล็ด การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : มะพูด หรือ ปะโหด เป็นพรรณไม้ที่นำเปลือกต้นมาใช้ย้อมสีเส้นไหมมานานแล้วในจังหวัดสุรินทร์และกัมพูชา เนื่องจากมะพูดให้สีเหลืองคล้ายสีเหลืองดอกบวบ หรือสีเหลืองดอกคูณ จึงมีการใช้ในการทำเป็นแม่สี เช่น เมื่อต้องการเส้นไหมสีเขียว นำเส้นไหมมาย้อมด้วยเปลือกมะพูดก่อนจึงย้อมทับด้วยคราม ในการเตรียมน้ำสีสำหรับการย้อมเส้นไหม 2 กิโลกรัม ใช้เปลือกมะพูดแห้ง 2 กิโลกรัม ต้มกับน้ำในอัตราส่วน 1 : 10 นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ แล้วนำมาย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อนนาน 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วนำมาแช่ในสารละลายสารส้มนาน 10-15 นาที ได้เส้นไหมสีเหลืองสด ในส่วนของใบที่นำมาใช้ย้อมสีเส้นไหมโดยใช้อัตราส่วน ใบสด 15 กิโลกรัมต่อเส้นไหม 1 กิโลกรัม สกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำ อัตราส่วน 1 : 2 นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ ใช้กรรมวิธีการย้อมร้อนและแช่ในสารละลายช่วยติดสีสารส้มหลังย้อมเช่นเดียวกับเปลือก พบว่าให้เส้นไหมสีเหลือง แต่สีที่ได้จะอ่อนกว่าสีที่ผ่านการย้อมด้วยเปลือก แต่ถ้าใช้ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีน้ำตาล การกระจายพันธุ์ : เป็นพืชเมืองร้อนที่มีการปลูกมาแต่โบราณ และพบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่แถบชายแดนจังหวัดสุรินทร์ ศรีษะเกษ ลาว และกัมพูชา ส่วนที่ให้สี : เปลือกต้น
สีที่ได้ : สีเหลืองสด หรือ สีน้ำตาล

คุณภาพสี : มะพูด / จุนสี มีระดับความคงทนต่อการซัก : 4 , ระดับความคงทนต่อแสง : 5-6
pantone: Inca Gold

ข้อมูลจาก : พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ

เปลือกมะพูดแห้ง นำมาทำเป็นสีย้อมธรรมชาติ สีเหลือง

นำเปลือกมาสับๆแช่น้ำ ในอัตราส่วน 1 : 10 ต้มกับน้ำนาน 1 ชั่วโมง

กรองใช้เฉพาะน้ำมะพูด เอากากออก

กรองกากออกให้เหลือแต่น้ำ

กรองกากออกให้เหลือแต่น้ำ

ใส่สารส้มสารช่วยติดสี 1 ช้อนโต๊ะ ต่ออัตราส่วน 1 : 10

เมื่อใส่สารส้มสีจากเหลืองอ่อนจะเข้มขึ้รมาทันที

คนๆให้เข้ากัน จะได้สีธรรมชาติสีเหลือง

นำด้ายที่ทำความสะอาดแล้วมาย้อม จะได้สีเหลืองสดใสเชียว

สลับ/พลิก ให้สีเข้าทั่วถึงเส้นด้าย

แช่ทิ้งไว้ในน้ำอุ่น อย่าให้เดือด ประมาณ 60 นาที

พลิกกลับด้ายเป็นระยะ เพื่อให้สีติดทั่วถึงกันทั้งไจ ทุกไจ

ในภาพนำด้ายย้อมคราม แล้วมาทับด้วยสีเหลืองมะพูด จะได้สีเขียว จะเขียวมากหรือน้อยอยู่ที่สีของครามเดิมและสีของมะพูด

ในภาพนำด้ายย้อมคราม แล้วมาทับด้วยสีเหลืองมะพูด จะได้สีเขียว จะเขียวมากหรือน้อยอยู่ที่สีของครามเดิมและสีของมะพูด

เปลือกมะพูดที่ใช้แล้ว สามารถนำมาต้มใหม่ได้

เมื่อย้อมแล้วก็มาบิดให้หมาดๆ อย่าให้ด้ายแฉะจะเกิดสีตกท้องช้าง หมักทิ้งไว้ 1 คืน

สีเหลืองอ่อนเป็นน้ำที่ 2 สีเหลืองเข้มเป็นน้ำแรก

หลังจากหมักแล้ว 1 คืน นำมาซักล้างให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างจาน แล้วนำมาตากในที่ร่ม

สีอ่อนเข้ม ของด้ายที่ย้อมด้วยมะพูด

สีอ่อนเข้ม ของด้ายที่ย้อมด้วยมะพูด


ทดสอบ การย้อมครามธรรมชาติเป็นการย้อมเย็น ย้อมประมาณนับ 1-100 จำนวน 1 2 3 4 และ 5 ครั้ง
การย้อมธรรมชาติ หากต้องการสีที่เข้มๆ ต้องย้อมหลายๆครั้ง และระยะเวลาที่ย้อมแต่ละครั้งประมาณ 10 นาที ย้อม 5 ครั้งก็เกือบชั่วโมง
แต่ครามเคมีย้อมเพียงครั้งเดียวก็ได้สีเข้มตามต้องการ แต่น้ำครามมีพิษต่อสิ่งแวดล้อม ถึงจะใช้ครามธรรมชาติแต่หากใช้ตัวกระตุ้น(รีดิวซ์) เป็นเคมีก็มีพิษเช่นกัน

...ธรรมชาติจึงใช้เวลานานกว่า ละเมียดละไมกว่า และไม่มีพิษต่อสิ่งแวดล้อม

การย้อมครามธรรมชาติ



จังหวัดราชบุรีเป็นแหล่งผลิตหินปูนแหล่งใหญ่ซึ่งเป็นทรัพยากรท้องถิ่นอันสำคัญ มีโรงงานผลิตปูนขาวปูนแดงกว่าสิบแห่ง แต่ก็ต้องปิดตัวลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่โรงงานปูนอำนวยลาภ ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองยังยืนหยัดอยู่ได้ แม้การซื้อขายปูนจะซบเซาลง เมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา

โรงงาน ปูนขาว ปูนแดง อำนวยลาภ

โรงงานอำนวยลาภ ชื่อตามที่จดทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านไร่ อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี พิกัด 13.526240, 99.852896 โดยมีนายอวยชัย แดงด้อมยุทธ์ (อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ 2552) ลูกชายคุณอำนวยลาภผู้พ่อผู้ก่อตั้งโรงปูน เป็นเจ้าของ และยังมีภรรยาของคุณอำนวยลาภยังคงช่วยบริหารงานอยู่ในปัจจุบัน (ข้อมูล 18.08.2560)

คุณยายภรรยาของคุณอำนวยลาภ
ภรรยาของคุณอำนวยลาภ

โรงงานแห่งนี้ยังคงผลิตปูนขาว ปูนแดง ส่งขายไปตามจังหวัดต่างๆทั่วไปเทศ ซึ่งตัวผมเองได้มา 3 ปีบๆละ 120.- ซื้อมาเพื่อเป็นส่วนผสมของการก่อหม้อคราม


โรงงาน ปูนขาว ปูนแดง อำนวยลาภ

โรงงาน ปูนขาว ปูนแดง อำนวยลาภ

โรงงาน ปูนขาว ปูนแดง อำนวยลาภ

โรงงาน ปูนขาว ปูนแดง อำนวยลาภ

โรงงาน ปูนขาว ปูนแดง อำนวยลาภ

โรงงาน ปูนขาว ปูนแดง อำนวยลาภ

โรงงาน ปูนขาว ปูนแดง อำนวยลาภ

โรงงาน ปูนขาว ปูนแดง อำนวยลาภ

โรงงาน ปูนขาว ปูนแดง อำนวยลาภ



สีห้อมหรือสีครามสังเคราะห์

สีห้อมหรือสีครามสังเคราะห์ มีชื่อทั่วไปว่า Indigo blue หรือ Indigo tin ลักษณะเป็นผลึกรูปเข็มสีม่วงหรือสีน้ำเงิน ระเหิดที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส มีคุณสมบัติไม่ละลายในน้ำ แอลกอฮอล์ อีเธอร์และกรดเจือจาง แต่ละลายดีมากในสารละลายอะนีลีนและพีรีดีน ถ้าละลายในตัวละลายไม่มีขั้วจะปรากฏสีม่วงแต่ถ้าละลายในตัวละลายมีขั้วและเกิดเป็นสีน้ำเงิน ถ้าทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกเย็นจะเกิดกรด disulponic ซึ่งทำให้อยู่ในรูปเกลือได้ง่าย เรียกว่า Indigo caramine สีน้ำเงินเข้มใช้ย้อม จัดเป็นสีแอซิด (Acid dye) มีกระบวนการย้อมต่างจากการย้อมหม้อห้อมหรือคราม ซึ่งเป็นสีแวต (อัจฉราพร ไสละสูตร)

Indigo Blue ถูกรีดิวส์ในสารละลายด่างกลายเป็นสารไม่มีสีเรียกว่า Indigo white มีค่าการดูดซึมแสงสูงสุดที่มีความยาวคลื่น 405 นาโนเมตร (ไพศาล คงคาฉุนฉายและคณะ) ตัวดิวส์และด่างมีหลายคู่ได้แก่ ไฮโดรซัลไฟร์กับโวเดียมไฮร์ดรอกไซต์ (Na2s204/NaoH) Indigo white ถูกออกซิเจนไดร์ได้ง่ายมากด้วยออกซิเจนในอากาศและกลับไปเป็น Indigo blue

สีหม้อห้อมหรือสีคราม เป็นสีที่เก่าแก่มาก สกัดได้จากใบของพืชแต่ทำให้สีบริสุทธิ์ได้ยาก เมื่อนำไปย้อมผ้าทำให้ได้สีไม่คงที่จึงยากต่อการผลิตผ้าหม้อห้อมในระดับอุตสาหกรรมได้ ในที่สุดมนุษย์ก็ได้สังเคราะห์สีหม้อห้อมหรือสีครามในเชิงอุตสาหกรรมขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด

การย้อมสีสังเคราะห์

สีสังเคราะห์ตอบโจทย์งานในระดับอุตสาหกรรม มีความคงทนกว่าสีธรรมชาติ หาซื้อง่าย และสามารถย้อมได้ครั้งละจำนวนมากตามความต้องการของลูกค้าได้ โดยมีขั้นตอนการย้อมแบบง่ายๆดังนี้

  1. นำผ้าที่จะใช้ย้อมหรือตัดสำเร็จรูปแล้ว (ต้องใช้ด้ายที่เป็นผ้าฝ้ายเท่านั้น) แช่น้ำประมาณ 2-3 วัน เพื่อล้างไขมันหรือสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากผ้าก่อน
  2. จากนั้นนำผ้าลงย้อมในหม้อน้ำสีคราม 4-5 ครั้ง แล้วนำไปตากแดดที่ไม่ร้อนจัด เพราะถ้าโดนแดดร้อนมากๆผ้าจะด่าง อากาศหน้าหนาวจะย้อมผ้าได้ดีเพราะแดดไม่แรงเหมือนหน้าร้อน
  3. ขั้นตอนสุดท้าย นำผ้าที่ย้อมสีครามแล้วลงต้มในหม้อที่ผสมสีสังเคราะห์ในน้ำเดือดประมาณ 10-15 นาที ต้องคอยพลิกผ้าที่ย้อมอยู่ตลอดเพื่อไม่ให้สีตกตะกอน จากนั้นนำไปตากให้แห้งเพื่อรอการลงแป้ง และรีดให้เรียบ


ภาพการย้อมด้วยครามเคมี จากวิทยากรจังหวัดแพร่
อบรมให้กลุ่มคลัสเตอร์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุทัยธานี



ครามเคมี
ครามเคมี


สารครามเริ่มเป็นสีเหลือง แสดงว่าพร้อมสำหรับการย้อมแล้ว
สารครามเริ่มเป็นสีเหลือง แสดงว่าพร้อมสำหรับการย้อมแล้ว


สารครามเริ่มเป็นสีเหลือง แสดงว่าพร้อมสำหรับการย้อมแล้ว
สารครามเริ่มเป็นสีเหลือง แสดงว่าพร้อมสำหรับการย้อมแล้ว


ล้างเส้นฝ้ายให้สะอาด
ล้างเส้นฝ้ายให้สะอาด


ตากหมาดๆ ให้สะเด็ดน้ำ
ตากหมาดๆ ให้สะเด็ดน้ำ


สาวบ้านไร่ทำการย้อม โดยจุ่มเส้นฝ้ายให้มิดจนแน่ใจว่าสีครามติดเส้นฝ้ายทั้งหมด จึงนำขึ้น
สาวบ้านไร่ทำการย้อม โดยจุ่มเส้นฝ้ายให้มิดจนแน่ใจว่าสีครามติดเส้นฝ้ายทั้งหมด จึงนำขึ้น


ทำการย้อม โดยจุ่มเส้นฝ้ายให้มิดจนแน่ใจว่าสีครามติดเส้นฝ้ายทั้งหมด จึงนำขึ้น
ทำการย้อม โดยจุ่มเส้นฝ้ายให้มิดจนแน่ใจว่าสีครามติดเส้นฝ้ายทั้งหมด จึงนำขึ้น


สารครามเริ่มทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จากสีเหลืองจะเริ่มเป็นสีคราม
สารครามเริ่มทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จากสีเหลืองจะเริ่มเป็นสีคราม


สารครามเริ่มทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จากสีเหลืองจะเริ่มเป็นสีคราม
สารครามเริ่มทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จากสีเหลืองจะเริ่มเป็นสีคราม


เส้นฝ้ายเริ่มเป็นสีคราม
เส้นฝ้ายเริ่มเป็นสีคราม



แหล่งที่มาของข้อมูล
"มหัศจรรย์หท้อห้อม ภูมิปัญญา เมืองแพร่" จังหวัดแพร่, สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่, วิทยาลัยชุมชนแพร่, คลัสเตอร์หม้อห้อมแพร่

ภาพประกอบจาก
กลุ่มคลัสเตอร์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุทัยธานี, เครดิตผู้ย้อม คุณตุ๊ก หวีวัน


การย้อมผ้าหม้อห้อมด้วยสีธรรมชาติ

ใบของต้นห้อมและต้นคราม จะมีสารที่เรียกว่า อินดิแคน (Indican) ซึ่งสามารถละลายน้ำได้แต่ไม่มีสี อินดิแคนเมื่อทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนจะเกิดเป็นกลูโคสและสารอินโดซิล (Indoxyl) เมื่ออินโดซิลรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนในอากาศจะเกิดเป็นสารคราม (Indigo) ในที่นี้จะเรียกว่า ห้อมเปียก หรือ ครามเปียก

สารครามจะถูกรีดิวส์ให้เป็น ลิวโดอินดิโก้ (Leucoindigo หรือ White Indigo) ซึ่งมีสีเหลืองและละลายน้ำได้

สารคราม (Indigo) มีคุณสมบัติไม่ละลายในน้ำแต่จะละลายได้ดีในด่าง ดังนั้นในการก่อหม้อสำหรับย้อมห้อม/คราม จึงต้องมีการปรับสภาวะในหม้อให้สมดุล เช่น ความเป็นกรดเป็นด่าง อุณหภูมิ และปริมาณสารครามในสภาวะที่เหมาะสม สารครามจะถูกรีดิวส์ให้เป็น ลิวโดอินดิโก้ (Leucoindigo หรือ White Indigo) ซึ่งมีสีเหลืองและละลายน้ำได้ โดยลิวโคอินดิโก้จะถูกดูดซับและติดที่เส้นใยผ้า เมื่อลิวโคอินดิโก้ที่ถูกดูดซับติดกับเส้นใยผ้านั้นสัมผัสกับกาอาศก็จะรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศกลายเป็นสีน้ำเงินติดที่เส้นใยผ้า

การย้อมสีครามธรรมชาติ จำทำการย้อมวันละ 2 ครั้งเท่านั้น คือ ตอนเช้าและตอนเย็น

ในการย้อมสีครามธรรมชาติ จำทำการย้อมวันละ 2 ครั้งเท่านั้น คือ ตอนเช้าและตอนเย็น ทั้งนี้ก็เพื่อให้สารครามที่มีอยู่ในน้ำย้อมนั้นเปลี่ยนเป็นลิวโคอินดิโก้ให้มีปริมาณมากพอที่จะย้อมผ้าหรือฝ้ายในครั้งต่อไปได้ โดยระยะเวลาในการย้อมแต่ละครั้งจะต้องห่างกันประมาณ 6-8 ชั่วโมง ซึ่งความเข้มของสีครามบนผ้าหรือฝ้ายจะขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่นำผ้าหรือฝ้ายไปย้อม

ระยะเวลาในการย้อมแต่ละครั้งจะต้องห่างกันประมาณ 6-8 ชั่วโมง


แหล่งที่มาของข้อมูล
"มหัศจรรย์หท้อห้อม ภูมิปัญญา เมืองแพร่" จังหวัดแพร่, สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่, วิทยาลัยชุมชนแพร่, คลัสเตอร์หม้อห้อมแพร่

ภาพประกอบจาก
กลุ่มคลัสเตอร์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุทัยธานี


ห้อมเปียก

การย้อมผ้าหม้อห้อมแบบดั้งเดิมคือการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ ฉะนั้นต้องนำต้นห้อมมาสกัดสีเสียก่อน

การสกัดสีจากต้นห้อมเป็นภูมิปัญญาในการนำสารอินดิแครน (Indican) ที่มีในต้นห้อมออกมาใช้ทำสีย้อมผ้า เมื่อต้นห้อมเหมาะแก่การเก็บเกี่ยวจะถูกนำมาแปรรูปด้วยการแช่น้ำจนเน่าเปื่อยแล้วตีกับปูนขาว เพื่อให้ได้สสารข้นเป็นโคลนสีครามเรียกว่า "ห้อมเปียก" (Indigo Paste) หรือ "เปอะ" ในภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ

ห้อมเปียกเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับทำน้ำย้อมผ้า จะถูกเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดซึ่งสามารถเก็บไว้ใช้ได้หลายปี

ห้อมเปียก

ปูนขาวแช่น้ำสำหรับใช้ตีกับน้ำห้อม

ปูนขาวแช่น้ำสำหรับใช้ตีกับน้ำห้อม


วิธีทำห้อมเปียก (Indigo Paste)

วัตถุดิบสำหรับทำห้อมเปียก

  1. ห้อม (ใช้ส่วนใบและก้าน) 1 กิโลกรัม
  2. น้ำสะอาด 10 ลิตร
  3. ปูนขาว 120 กรัม

ขั้นตอนการทำห้อมเปียก

  1. ตัดส่วนยอดและใบห้อมในตอนเช้าจะได้เนื้อห้อมมากและคุณภาพดี (ช่วงเช้าไม่เกิดแปดโมงและช่วงเย็นหลังสี่โมงเป็นเวลาที่ใบห้อมจะสดและให้สีมาก)
  2. ล้างใบห้อมด้วยน้ำสะอาด มัดเป็นกำวางลงในภาชนะ เติมน้ำสะอาด นำวัสดุที่มีน้ำหนักวางกดใบห้อมให้จมน้ำ แช่ใบห้อมให้เน่าเปื่อยเป็นเวลา 24-72 ชั่วโมง
  3. แยกใบห้อมที่ไม่เน่าเปื่อยทิ้งจนเหลือแต่น้ำห้อม
  4. เติมปูนขาว 120 กรัม ต่อน้ำห้อม 10 ลิตร ใช้ชะลอมซวก (ตีขึ้น-ลง) จนเกิดฟองสีน้ำเงิน ซวกจนกระทั่งฟองแตกตัวและยุบตัวลงไป ทิ้งไว้ 1 คืนให้ตกตะกอน
  5. เทน้ำสีเหลืองที่อยู่ด้านบนเนื้อห้อมทิ้งให้เหลือแต่ตะกอนที่อยู่ก้นหม้อ กรองตะกอนด้วยผ้าฝ้าย จะได้ห้อมเปียกลักษณะเหมือนครีม ไม่แห้งและเหลวเกินไป เก็บห้อมเปียกในภาชนะที่มีฝาปิดสนิทเพื่อนำไปใช้ก่อหม้อย้อมผ้าต่อไป

วิธีทำห้อมเปียก (Indigo Paste)

บรรณานุกรม
นุชนาฏ ชาวปลายนา, จอมขวัญ เวียงเงิน. (2559). วิถี+วิธี หม้อห้อมเมืองแพร่. วิทยาลัยชุมชน, แพร่.




แหล่งปลูกต้นห้อม : ต้นห้อมกับป่าที่นาตอง


ต้นห้อมกับป่าที่นาตอง

สูงขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลปานกลางกว่าแปดร้อยเมตรบนแนวภูเขาฝั่งตะวันออกของจังหวัดแพร่ คือ บ้านนาตอง บ้านอีกหลังของต้นห้อม

นาตองเป็นหมู่บ้านเล็กๆบนภูเขาสูง อยู่ในเขตตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง มีห้วยแม่ก๋อนไหลผ่าน ฤดูฝน-ฝนตกชุก ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ส่วนฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 24 องศาเซลเซียส ดังนั้นที่นี่จึงมีปัจจัยที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นห้อมได้ดี คือมีดินชุ่มชื้นและมีอากาศเย็น

ต้นห้อม ที่นาตอง

ต้นห้อมที่นาตองอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่โดยปลูกไว้ภายใต้ร่มเงา (Shade Tree) ซึ่งตามธรรมชาติของป่าพืชทั้งต้นเล็กต้นใหญ่จะอาศัยเกื้อกูลกันและกัน ต้นไม้เล็กๆจะได้ปุ๋ยและแร่ธาตุจากต้นไม้ใหญ่ ต้นไม้ใหญ่อาศัยต้นไม้เล็กคลุมหน้าดินเพื่อเก็บกักความชุ่มชื้น

ชาวนาตองจะปลูกต้นห้อมในที่ทำกินของตนเอง ปลูกแซมกับต้นไม้ในสวนปลูกไว้ปลายไร่ปลายนา เพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่ได้อย่างมีประโยชน์ การปลูกห้อมใต้ร่มเงาทำให้ต้นห้อมสวยงามและมีระยะเวลาการให้ผลผลิตที่ยาวนานกว่า เนื่องจากไม้บังร่มจะช่วยลดความเข้มข้นแสง มีความชื้นสูงจากการทับถมของใบไม้ที่ร่วงหล่นกลายเป็นปุ๋ยให้ทั้งต้นห้อมและต้นไม้ใหญ่ แถมยังช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน

นอกจากนี้การปลูกต้นห้อมภายใต้ร่มเงายังเป็นการลดปัญหาการแผ้วถางพื้นที่ป่า อีกทั้งชาวบ้านจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจึงนำไปสู่การทำเกษตรร่วมกับการอนุรักษ์ผืนป่าได้อย่างยั่งยืน การปลูกห้อมแซมกับป่าช่วยสร้างความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ เป็นระบบนิเวศที่ทุกส่วนต่างเกื้อกูลกัน ห้อมอยู่กับป่าได้และชาวบ้านก็ได้ประโยชน์จากป่าด้วย

ชาวบ้านนาตองได้จัดตั้ง ?กลุ่มผลิตน้ำย้อมผ้าจากต้นห้อม? เพื่อแปรรูปห้อมสดเป็นห้อมเปียกสำหรับจำหน่ายแก่ผู้ประกอบการผ้าหม้อห้อมธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีการขยายพื้นที่ปลูกห้อมโดยการสร้างเครือข่ายกลุ่มปลูกห้อมเพื่อเพิ่มที่ปลูกให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตห้อมเปียกให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอนาคต

แปลงเพาะ ต้นห้อม


บรรณานุกรม
นุชนาฏ ชาวปลายนา, จอมขวัญ เวียงเงิน. (2559). วิถี+วิธี หม้อห้อมเมืองแพร่. วิทยาลัยชุมชน, แพร่.


แหล่งปลูกต้นห้อม : วิธีทำห้อมเปียก (Indigo Paste)


แหล่งปลูกต้นห้อม

ต้นห้อม เป็นพืชที่ให้สารสีครามที่นำมาย้อมผ้าได้ ห้อมชอบอยู่ในที่ร่มเย็น มีน้ำชุ่มชื้นตลอดเวลา มีแดดรำไร ใบห้อมสามารถเก็บมาใช้ทำสีครามได้ตั้งแต่อายุ 6-8 เดือน และเก็บได้อย่างต่อเนื่องเมื่อย่างเข้าปีที่ 2 ระยะของการเก็บไม่แน่นอนแล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละท้องที่ ถ้าต้นใหญ่สามารถนำทั้งกิ่งและใบมาใช้ได้ ส่วนต้นเล็กใช้ใบเป็นหลัก ห้อมที่อยู่บริเวณที่เหมาะสมจะมีอายุยาวนานถึง 8 ปี

ห้อมในจังหวัดแพร่ พบการปลูกที่บ้านนาคูหา ตำบลสวนเขื่อน และบ้านนาตอง ตำบลช่อแฮ ซึ่งเป็นพื้นที่มีความชุ่มเย็นตลอดปี มีลำห้วยไหลผ่าน

ต้นห้อม ที่นาคูหา


บ้านนาคูหา

บ้านนาคูหาเป็นหมู่บ้านในหุบเขาฝั่งตะวันตกของจังหวัดแพร่ ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง มีสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการมาเยือนถึงหมูบ้านแล้วคือพระธาตุอินแขวน องค์พระธาตุจำลองตั้งอยู่บนยอดดอยที่มีต้นไม้เขียวขจี เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาโพธิวงศาจริยาราม พุทธอุทยานดอยผาสวรรค์ เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9 ที่นี่มีอุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส อากาศเย็นตลอดทั้งปีและเป็นแหล่งโอโซนชั้นดีที่ได้รับการวิจัยว่ามีโอโซนติดอันดับ 7 ของประเทศ มีลำห้วยแม่แคมไหลผ่านให้ความชุ่มชื้น บ้านนาคูหาตั้งอยู่บนหุบเขาสูงมีเส้นทางเข้าออกหมู่บ้านเพียงเส้นเดียวเป็นถนนเล็กๆ แต่ลาดยางมะตอยอย่างดีจึงสะดวกต่อการเดินทาง อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่เพียง 20 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นทำให้อากาศเย็นสบายตลอด

พระธาตุอินแขวน


บ้านนาคูหายังเป็นแหล่ง ?เตา? หรือสาหร่ายน้ำจืดที่ขึ้นชื่อเรื่องความสะอาดปลอดภัยเพราะเตาจะเจริญเติบโตตามธรรมชาติในแหล่งน้ำใสสะอาดเท่านั้น ด้วยปัจจัยที่เอื้ออำนวยเช่นนี้ ?ต้นห้อม? จึงปลูกที่นี่ได้


เตา หรือ สาหร่ายน้ำจืด ที่ บ้านนาคูหา

เตา หรือ สาหร่ายน้ำจืด ที่ บ้านนาคูหา

กล้าต้นห้อม ที่นาคูหา


ในอดีตราว 30 ปีที่ผ่านมาชาวบ้านนาคูหาผลิตผ้าหม้อห้อมใช้เอง มีการปลูกฝ้ายพันธุ์พื้นเมืองควบคู่กับการใช้ต้นห้อมที่ขึ้นตามธรรมชาติเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต

ต่อมาจนถึงปัจจุบันชาวบ้านยังปลูกและผลิตเส้นฝ้ายโดยใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมส่งขายให้แก่ผู้ประกอบการผ้าหม้อห้อมย้อมธรรมชาติ แม้ว่าจะไม่ได้ทอผ้าและย้อมผ้าหม้อห้อมใช้เองแล้วในปัจจุบัน แต่ยังคงปลูกห้อมพันธุ์พื้นเมืองในเล็กตามท้องสวนจำนวนเล็กน้อยเพื่อใช้เป็นยารักษาอาการไข้สูง

ด้วยสภาพพื้นที่ชุ่มชื้นตลอดทั้งปีเหมาะสำหรับการปลูกห้อม จึงเกิดการฟื้นฟูการปลูกห้อมและแปรรูปห้อมเปียกขึ้นที่นี่ เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มเติมนอกเหนือจากการปลูกพืชตามฤดูกาล

สว่าง สีตื้อ ผู้ปลูกห้อมและทำห้อมเปียก

ภาพ : be smart จากกระทู้ /topic/35986791


บรรณานุกรม
นุชนาฏ ชาวปลายนา, จอมขวัญ เวียงเงิน. (2559). วิถี+วิธี หม้อห้อมเมืองแพร่. วิทยาลัยชุมชน, แพร่.


ต้นห้อมกับป่าที่นาตอง : วิธีทำห้อมเปียก (Indigo Paste)


ต้นห้อม

ห้อมและครามเป็นพืชที่ให้สีครามเหมือนกัน แต่ยังมีต้นไม้อีกชนิดหนึ่งที่ให้สีครามเหมือนกันแต่ปัจจุบันไม่มีให้เห็นการใช้แล้วคือ ต้นเบิกหรือครามเถา ห้อมและครามเป็นพืชสองชนิดที่อยู่กันคนละชนิดและคนละวงศ์ ห้อมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze พืชวงศ์ Acanthaceae ส่วนครามมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Indigofera tinctoria L. พืชวงศ์ Leguminosae พืชล้มลุกตระกูลถั่ว

ต้นห้อม

ภาพถ่าย : เกสรมาเฟีย จาก gonorththailand.com

ห้อม เป็นไม้พุ่มสูงได้ถึง 1.5 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยมรูปทรงกระบอก ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปรี กว้าง 2.5-6 ซม. ยาว 5-16 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกสีม่วง ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกย่อยบานกว้าง 1.5-2 ซม. กลีบรองดอก 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดโค้งงอ ปลายแยก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 4 อัน ผลเมื่อแก่แล้วจะแตกเมล็ดแบนสีน้ำตาลขนาดเล็ก

ฮ่อม หรือ ห้อม เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze เป็นสมาชิกวงศ์ต้อยติ่ง (Acanthaceae) วงศ์ย่อย Ruellioideae เผ่า Ruellieae เผ่าย่อย Strobilanthinae ชื่อท้องถิ่นหลายชื่อได้แก่ ครามหลอย (แม่ฮ่องสอน) ฮ่อม (เหนือ) ฮ่อมเมือง (น่าน) ยามสี (เย้า-น่าน) ครามเขียว (ปักษ์ใต้)

ห้อมสามารถปลูกได้โดยใช้กิ่งหรือแยกหน่อไปปักชำ โดยเลือกตัดส่วนของลำต้นที่มีข้อและราก หรือใช้เมล็ดปลูกในที่ชื้นแฉะ ห้อมมีอายุไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพภูมิอากาศในที่นั้นๆ แต่จะเติบโตดีในที่มีน้ำชุ่มชื้นอยู่เสมอ หรือใกล้แหล่งน้ำ เช่น ในป่าชื้นจะพบบริเวณใกล้ลำธาร ห้อมต้องการร่มเงามากไม่ชอบแสงแดดจัด ดังนั้นจะพบตามเขตป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ร่มครึ้มและพบมาในภาคเหนือ

ความพิเศษของต้นห้อมคือ สามารถนำมาย้อมผ้า ซึ่งจะให้สีครามได้จากส่วนใบและลำต้นของต้นห้อมอายุ 6-8 เดือนที่พร้อมเก็บเกี่ยวโดยใช้กรรไกรตัดยอดให้มีความยาวประมาณ 15-20 ซม. หากมีต้นห้อมจำนวนมากสามารถเก็บได้ทั้งกิ่ง แต่หากมีน้อยให้เด็ดเป็นใบๆ เวลาที่เหมาะสมสำหรับตัดห้อมคือช่วงเช้า เนื่องจากจะได้ใบสดและให้สีดีกว่าการเก็บในช่วงบ่าย หลังจากตัดแล้วควรปล่อยต้นห้อมให้แทงยอดใหม่ สามารถเก็บเกี่ยวได้ทุก 2-3 เดือน หรือ 3-4 ครั้งต่อปี

ครามเปียก ห้อมเปียก


นอกจากใช้ห้อมย้อมผ้าแล้ว ชาวล้านนายังใช้เป็นยาพื้นบ้าน ชาวบ้านจะใช้ใบต้มกับน้ำเปล่าดื่มลดไข้ แก้ปวดศีรษะเนื่องจากหวัดและยังบรรเทาอาการเจ็บคอ หลอดลมอักเสบ ต่อมท่อมซิลอักเสบ เป็นสมุนไพรบำรุงกำลัง รักษาแผลสด ห้ามเลือด และแก้อักเสบได้อีกด้วย ชาวเขาเผ่าอาข่าและลาหู่จะใช้รากและใบเคี่ยวหรือต้อมน้ำดื่ม แก้อาการปวดหลัง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหาร หรือตำใบพอกและคั้นน้ำทารักษาแผลสด แผลถลอก แก้อาการอักเสบจากพิษงู ตะขาบ แมงป่อง และแมลงอื่นๆ


บรรณานุกรม
นุชนาฏ ชาวปลายนา, จอมขวัญ เวียงเงิน. (2559). วิถี+วิธี หม้อห้อมเมืองแพร่. วิทยาลัยชุมชน, แพร่.


ผ้าดิบ

กระบวนการตัดเย็บผ้าคงหนีไม่พ้นเรื่องผ้า (ไม่ได้กวนนะ) ผู้ตัดเย็บเสื้อผ้าทุกๆคนน่าจะรู้จักคำว่า ?ผ้าดิบ? เป็นผ้าที่ทอด้วยเส้นใยจากธรรมชาติที่ยังไม่ผ่านกระบวนการฟอก มีส่วนผสมของฝ้าย 100% หรือผสมเส้นใยสังเคราะห์ Polyester สีของผ้าดิบมีสีขาวและสีธรรมชาติออกเหลืองนวลเป็นผ้าที่ไม่มีลวดลาย เนื้อผ้าจะแข็งไม่ลื่นเป็นมัน การทอมีทั้งแบบบางจนถึงแบบหนา ทำให้มีหลากหลายของความหนาให้เลือกใช้งาน

ผ้าดิบ มีความยืดหยุ่นพอสมควรมีความทนทานค่อนข้างสูง เมื่อซักจะมีรอยยับบ้าง มีราคาถูกหาซื้อได้ง่าย


ลักษณะของสีผ้าดิบ

ภาพจาก : www.ซื้อผ้า.com

ขนิดของผ้าดิบ

เครดิตภาพและชนิดของผ้าดิบ : www.phadib.com


ผ้าตาข่าย
เป็นผ้าบางคล้ายผ้ามุ้ง มองเห็นเป็นตาข่ายถี่ มีความทนทาน ไม่บางจนขาดได้ง่าย คล้ายผ้าสาลู
ผ้าดิบลายขัดธรรมดา
เป็นผ้าจะหนากว่าผ้าข่าย ผ้าจะเนื้อทึบกว่า มีความหนาประมาณผ้าเขียนป้าย
ผ้าดิบลายขัดหนา
เป็นผ้าที่มีความหนาระดับกลาง แข็งแรง เนื้อหยาบเล็กน้อย
ผ้าลายสอง ธรรมดา
เป็นผ้าที่มีลายเป็นแนวทแยงมุม มีความละเอียด เนื้อแน่น นิยมใช้ทำกระเป๋าผ้าดิบโลกร้อนมาก ตัดกางเกง ทำเสื้อผ้า มีความสวยงามเหมาะเป็นผ้าโชว์เนื้อผ้า
ผ้าลายสอง แบบหนา (คล้ายแบบผ้ายีนส์)
ผ้าลายสอง แบบหนาสีครีมธรรมชาติ
Cotton
เป็นผ้าฝ้าย เนื้อมีสีครีมธรรมชาติ
ผ้าปลอกหมอน
เป็นผ้าเนื้อละเอียด เรียบ สีขาว
แคนวาส (canvas)
เป็นผ้าดิบเนื้อหนาแน่นคล้ายกระสอบ เหมาะทำกระเป๋า รองเท้า และอื่นๆ
แคนวาสหนาพิเศษ (canvas)
เป็นผ้าดิบเนื้อหนาพิเศษ เนื้อผ้าเป็นแผ่นหนา เหมาะใช้ในอุตสาหกรรม

ส่วนผสมของเส้นใย

  1. ฝ้าย (cotton) 100%
  2. TC คือ ส่วนผสมของ Polyester 65% และ cotton 35% ทำจาก TC เกรดสูงสามารถย้อมได้

ผ้าดิบที่ทำจากฝ้าย 100% จะมีเนื้อค่อนข้างเหนียว ไม่ค่อยยืดหยุ่น ยับง่าย หดง่าย ดูดซึมน้ำได้ดี ระบายอากาศและความร้อนได้ดีทำให้สวมใส่สบายมีความชื้นประมาณร้อยละ 11 ซักรีดและทำความสะอาดง่าย ทนความร้อนได้ดี สามารถรีดด้วยความร้อนสูงได้ ย้อมสีและพิมพ์ลวดลายง่าย

"ผ้าฝ้ายที่ผ่านการตกแต่งด้วยเทคนิควิธีการผ่านไอน้ำหรือให้ความร้อน และใช้สารเคมีทำให้ผิวสัมผัส ราบเรียบ เป็นมัน คงทนต่อการเสียดสี ทนยับ แต่ถ้าไม่ได้ผ่านการตกแต่งส่งผลให้การยืดหยุ่นตัวน้อยลง ยับง่าย ความแข็งแรงหรือความเหนียวต่ำ ไม่ทนเชื้อราและแสงแดด ข้อจำกัดของผ้าฝ้ายจะเสื่อมคุณภาพง่าย เมื่อถูกความร้อนสูงจากเตารีด หรือแสงแดด ทำให้สีที่ย้อมจางลง ควรเก็บรักษาในที่แห้งไม่ควรให้มีความชื้นซึ่งอาจทำให้เกิดเชื้อราบนผืนผ้า? (phathai.tripod.com)